รูปแบบการบริหารแบบการกระจายอำนาจที่มีประสิทธิผล ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร

Authors

  • สุทธิสุภางค์ วัจนะรัตน์ นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

Keywords:

การบริหาร, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, เอกชน, SWOT analysis, strategic leadership, human resources

Abstract

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารแบบการกระจายอำนาจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเอกชน ศึกษาประสิทธิผลในการบริหารวิเคราะห์ปัจจัยการบริหารแบบที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหาร พัฒนารูปแบบ การบริหารแบบใช้วิจัยแบบผสมเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า (1) การบริหารแบบการกระจาย อำนาจสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเอกชน อยู่ในระดับมาก คือ มีการใช้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ เป็นอันดับ 1 การประเมินผล กลยุทธ์ เป็นอันดับ 2 และการกำหนดกลยุทธ์ เป็นอันดับ 3 ตามลำดับ (2) ประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานเอกชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก คือ งานงบประมาณ เป็นอันดับ 1 งานวิชาการ เป็นอันดับ 2 งานบุคคล เป็นอันดับ 3 และงานทั่วไป เป็นอันดับ 4 (3) การกำหนดนโยบายตามการกระจายอำนาจ ส่งผล ต่อประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเอกชน (4) ได้รูปแบบการบริหารแบบการกระจายอำนาจ ที่มีประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเอกชน มีความเหมาะสมในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เอกชนจริง

 

The Development of an Effective Decentralized Administration Model for Private Basic Education Schools in Bangkok Metropolis

The present research titled “Decentralized Administration Model for Administrative Effectiveness in Private Basic Education Institutions” has four objectives. A mixed method research approach has been used in the study, which is comprised of three stages. The first stage addresses the first, the second and the third objectives of the study, and the second and third stages address the fourth and the objectives respectively. Findings from Stage One have provided information for designing and developing the following model consisting of seven steps. The research proposes that an effective decentralized administration starts with policies made by schools’ original affiliations which encourage strategic leadership. Then, a SWOT analysis must be conducted the result of which would later be used in outlining missions for the academic staff as well as the supporting staff to follow. The next step is to create objectives for budget planning. After that, the strategies for administrating supporting units such as Academic Affairs and Human Resources will be specified. This will lead to decentralized policy making in educational institutions before it leads to a strategic evaluation which could then help to check against the budget control in these private basic education institutions.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย