รูปแบบการบริหารงานสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผล ในจังหวัดนนทบุรี

Authors

  • เรขา ศรีวิชัย นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม

Keywords:

รูปแบบการบริหารงาน, สถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย, administrative model, early childhood private schools

Abstract

การวิจัยเชิงผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานของสถานศึกษาเอกชน และเพื่อพัฒนา รูปแบบการบริหารงานของสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผล มีขั้นตอนการดำเนินการ 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย (1) การศึกษาข้อมูลการบริหารงาน (2) การยกร่างรูปแบบการบริหารงาน (3) การตรวจสอบรูปแบบ การบริหารงาน และ (4) การประเมินรูปแบบการบริหารงาน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากร และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 3 แห่ง ที่เลือกมาแบบเจาะจงรวม 3 แห่ง ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ตรวจสอบร่างรูปแบบ การบริหารของสถานศึกษาเอกชน โดยการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน เป็นผู้บริหารและครูจาก สถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย ในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 3 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบตรวจสอบร่าง และแบบประเมินรูปแบบการบริหารงาน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัย นำเข้าของรูปแบบ คือ สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา การตอบสนองความต้องการของชุมชนและแหล่งเรียนรู้ ในชุมชน นโยบายของรัฐบาล นโยบายของคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้เรียน ผู้บริหารและครู และงบประมาณ กระบวนการแปลงสภาพมีองค์ประกอบคือ การบริหารจัดการหลักสูตร กิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและ ประเมินผลการเรียน ผลผลิตมีองค์ประกอบย่อยต่อรูปแบบคือ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนและความพึงพอใจของ ผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งการประเมินรูปแบบพบว่า รูปแบบนี้มีประโยชน์ มีความสอดคล้องและความเป็นไปได้ เหมาะสม

 

An Effectice Administration Model for the Private Early Childhood Schools in Nonthaburi Province

The objectives of this research were to study and develop an effective administrative model for early childhood private schools in Nonthaburi Province. A mixed method research was used consisted of interviewing, questionnaire, focus group and connoisseurship. Informaul for interview administrators. Questionnaire were used to collect data from staff and parents in 3 schools in Nonthaburi Province, Focus group and connoisseurship were administrators, teachers and school boarders. The result of the study were as follows: (1) The effective administrative model comprised Assurance three main components input process and output. The input elements consisted of school environment, the response of community needs and learning sources, government policy, school board policy, students, administrators / teachers, and budgeting. The process elements consist of curriculum, management, learning, teaching, measurement and evaluation. The output elements consisted of students achievement, and parents satisfaction. (2) When evaluated the model was found to be useful, and feasib le.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย