รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Keywords:
รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการศึกษา, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, competency development model education personnel, local administration organizationAbstract
บทความนี้รายงานการศึกษารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการศึกษาขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสมรรถนะบุคลากรทางการศึกษา (2) สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ บุคลากรทางการศึกษา (3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการศึกษา ประชากร คือ บุคลากรทางการศึกษาที่เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดในประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสมรรถนะบุคลากรทางการศึกษาขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น แบบสัมภาษณ์แนวทางเพื่อการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร ทางการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของ รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผลการวิจัยพบว่า (1) สมรรถนะ บุคลากรทางการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ บุคลากรทางการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย การมีภาวะผู้นำในชั้นเรียน การบริหารจัดการ ในชั้นเรียน การสื่อสารได้อย่างมีคุณภาพ การประสานผลประโยชน์ และการนำนวัตกรรมมาใช้ในการบริหารจัดการ การกำหนดเนื้อหาในการพัฒนา (3) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต่างเห็นสอดคล้องกันเป็นส่วนใหญ่ว่า รูปแบบฯ มีความเหมาะสมในการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการศึกษา ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจริง
The Competency Development Model of Education Personnel in the Local Administration Organization
This thesis studies the competency of educational personnel in the local administrative organization. The aim is to develop a competency development model of the personnel and to evaluate its appropriateness. This is a mixed method research, inclusive of both quantitative and qualitative approaches. The research was conducted in three stages. First, the competency of the personnel was studied. Then, a competency development model was developed. Finally, the model was evaluated for its appropriateness. Research results are as follows: (1) Generally the competency of educational personnel in the local administrative organization was at a high level in all aspects. (2) A model of competency development for the personnel in the local administrative organization in the following five aspects was achieved: possessing leadership in the classroom, classroom management, effective communication, benefit integration, and competency to use innovation in administration. Included in each aspect of the development model are the content, objectives, development procedures, and development evaluation. (3) A total of 30 academic experts in basic education of the local administrative organization have mostly agreed that the competency development model of personnel is appropriate for its purposes.