รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ทางวิชาการของครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Authors

  • ภัทร แสงเพ็ง หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ปีการศึกษา 2555
  • ดิเรก พรสีมา หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

Keywords:

ผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ, การเสริมสร้างสมรรถนะ, ครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้, academic transformative instructional leaders, competency, head teachers

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สมรรถนะความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ทางวิชาการในปัจจุบัน (2) องค์ประกอบที่เสริมสร้างสมรรถนะความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ (3) นำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ และ (4) ตรวจสอบความ เหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 480 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอนและการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า (1) สมรรถนะ ความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการในปัจจุบัน ประกอบด้วย การจัดทำหลักสูตรและแผนการเรียนรู้ การจัด กิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การพัฒนาและใช้สื่อการเรียนรู้ การพัฒนาและส่งเสริม งานวิชาการ การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการนิเทศภายในโรงเรียน (2) องค์ประกอบที่เสริมสร้างสมรรถนะ ความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ ประกอบด้วย การบริหารแบบมีส่วนร่วม ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การกำกับติดตามงาน การเสริมสร้างพลังอำนาจ อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ และการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (3) รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ มี 2 องค์ประกอบหลัก (4) ผลการ ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการ นำไปใช้อยู่ในระดับมาก

 

A Competency Enhancement Model for Transformative Instructional Leaders of Academic Heads of Secondary School under the Office of Basic Education Commission

This research is a mixed method. The four objectives were: (1) to investigate the recent competency for transformative instructional leaders, (2) to study the factors enhancing competency for transformative instructional leaders, (3) to propose a competency enhancement model for transformative instructional leaders; and (4) to investigate the appropriateness and possibility of the competency enhancement model for transformative instructional leaders. This was done through analyzing responses of the questionnaire from 480 head teachers and applying 19 experts. Collected data were analyzed applying frequency, percentage, mean, standard deviation, stepwise multiple regression analysis and correlation analysis. Findings from this study were as follow: (1) The overall competency for transformative instructional leaders was rated at high level; curriculum management and learning plan, activities management, learning measurement and evaluation, learning media development and implementation, academic support and development research for educational quality improvement and supervision in school. (2) Factors enhancing competency for transformative instructional leaders were rated at high level: participative management, transformational leadership, job monitoring, empowerment, authority & accountability and results-based management. (3) A competency enhancement model for transformative instructional leaders consists of two major components. (4) The results from examining the appropriateness and possibility of the model were both at high level.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย