การพัฒนาเกณฑ์การประเมินเว็บไซต์สำหรับเด็ก

Authors

  • กิตติศักดิ์ คงพูน
  • ประภาส พาวินันท์

Keywords:

การประเมินเว็บไซต์, เว็บไซต์สำหรับเด็ก, web site evaluation, website for children, criteria for website evaluation

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูบรรณารักษ์โรงเรียนประถมศึกษา สังกัด กรุงเทพมหานคร ที่มีต่อการพัฒนาเกณฑ์การประเมินเว็บไซต์สำหรับเด็ก ประชากรที่ใช้ศึกษาครั้งนี้คือ ครูบรรณารักษ์ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ทั้งสิ้น 431 คน และกลุ่มตัวอย่างจำนวน 203 คน โดยใช้แบบสอบถาม ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและแบบวิเคราะห์ใ นการวิเ คราะห์เว็บไซต์สำหรับเด็ก ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) ความคิดเห็น ครูบรรณารักษ์โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร มีต่อการพัฒนาเกณฑ์การประเมินเว็บไซต์สำหรับเด็ก ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านเนื้อหา รองลงมาด้านภาษา ด้านการ ออกแบบ และด้านผู้แต่ง / ผู้สร้างเว็บ ตามลำดับ (2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นครูบรรณารักษ์โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อการพัฒนาเกณฑ์การประเมินเว็บไซต์สำหรับเด็ก พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ ระดับ การศึกษา วุฒิการศึกษา สาขาวิชา และอายุ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาเกณฑ์การประเมินเว็บไซต์ สำหรับเด็กไม่แตกต่างกัน แต่ครูบรรณารักษ์โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่มีประสบการณ์ การทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาเกณฑ์การเมินเว็บไซต์สำหรับเด็กแตกต่างกัน (3) การวิเคราะห์เว็บไซต์ สำหรับเด็ก พบว่า เนื้อหาของเว็บไซต์มีการแบ่งเป็นหมวดหมู่ง่ายต่อการใช้ มีข้อมูลที่ผู้เขียนหรือผู้จัดทำแสดง บนเว็บเพจเชื่อถือได้ ด้านภาษา มีการใช้คำที่มีน้ำหนักและมีพลังในการโน้มน้าวให้ผู้อ่านคล้อยตาม ด้านการ ออกแบบส่วนองค์ประกอบ มีการใช้ภาพเคลื่อนไหว มีไฟล์เสียงและกราฟิกส์ การวางภาพและข้อความมีความ สมดุลเหมาะสม

 

The Development of Evaluation Criteria for Children Websites

The researcher develops appropriate criteria to be used in the evaluation of websites for children. The research population consisted of 431 librarian teachers employed at Prathom Sueksa schools under the jurisdiction of the BMA. The sample consisted of 203 librarian teachers. The instruments of research were a questionnaire and a form for analyzing the websites for children. Findings found (1) The librarian teachers under study exhibited opinions toward the development of criteria for the evaluation of websites for children in an overall picture and in each aspect at a high level, with the highest mean was toward the contents. (2) The librarian teachers who differed in the demographical characteristics of gender, educational level, educational qualifications, field of study, and age failed to show concomitant differences in opinions toward the development of criteria for the evaluation of websites for children. However, the librarian teachers under study who differed in the demographical characteristic of work experience displayed corresponding differences in opinions toward the development of criteria for the evaluation of websites for children. (3) It was found that the information presented on the web pages was reliable. Using strong and powerful words in as key access points. In respect to the aspect of the design of components, it was found that there were moving pictu res graphic and sound files.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย