รูปแบบการบริหารการคลังเทศบาลที่ส่งผลต่อการพัฒนาประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานการคลังท้องถิ่น ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

Authors

  • อภิชาติ แสงอัมพร หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2555
  • จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์

Keywords:

การบริหารการคลัง, เทศบาล, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง, finance administration, municipality, lower northeastern part of Thailand

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการบริหารการคลังของเทศบาล ในเขตภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนล่าง โดยศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารการคลัง และเสนอรูปแบบการบริหารการคลัง ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานการคลังท้องถิ่น ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่าง การวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัยจากเอกสาร และใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายจำนวน 200 คนโดยสุ่มแบบหลายขั้นตอน การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก ที่เลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า (1) โครงสร้างรายได้ของเทศบาลที่ศึกษามีลักษณะพึ่งพารายได้จากรัฐบาล เป็นสัดส่วนที่สูง เทศบาลมีศักยภาพในการจัดหารายได้ต่ำ ทำให้ความเข้มแข็งทางด้านรายได้ต่ำ เทศบาลมีการจัดสรร รายจ่ายส่วนใหญ่เพื่อรายจ่ายประจำและรายจ่ายเพื่อการลงทุน ทำให้มีรายจ่ายสำหรับการพัฒนาความเข้มแข็ง ของชุมชนในเทศบาลต่ำ (2) ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารการคลังของเทศบาลที่ศึกษาประกอบด้วย ปัญหา เกี่ยวกับบุคลากร ปัญหาด้านโครงสร้างรายได้และโครงสร้างรายจ่าย ปัญหาวิธีปฏิบัติงานคลัง และปัญหาการ ตรวจสอบทางการคลัง (3) รูปแบบการบริหารการคลังเทศบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการคลัง ท้องถิ่นมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ปัจจัยที่สัมพันธ์เกื้อหนุนกัน คือ กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ประชาชน ควรมีส่วนร่วมในการบริหาร ระบบการสร้างภูมิคุ้มกัน และระบบกลไกการขับเคลื่อน

 

Municipality Finance Administration Model that Affects the Development of the Efffiiciency of Local Finance Administration in the Lower Northeastern Part of Thailand

The research aimed to study (1) the characteristic of municipal fiscal management in the lower northeast, (2) study the problems and difficulties in municipal fiscal management in the lower northeast, and (3) propose for the model of the fiscal management style caused developing efficiency of the local fiscal performance. The research methodology was a mix method combining qualitative and quantitative method. The data collections were collected documents, questionnaires gathering data from of 200 people from multistage sampling, depth interviews from interviewers selected by purposive sampling. The results were found as follows: (1) the characteristics of municipal revenues structure were highly depended on government effected the low strengthened. The municipal expenditure structure mainly allocated to fixed expenses and investments so that the less budgets for communities development. (2) There were many problems of the fiscal management of municipalities including the problem from personnel issues, structural issues, income and expense structure, the practice bills, and the monitoring of fiscal. (3) The municipal fiscal management model which affected the developing efficiency of the local fiscal performance included three related important element; they were the participation of the public, Immune system and mechanical propulsion.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย