กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับกลางของโรงเรียน ในเครือคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ในประเทศไทย
Keywords:
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ผู้บริหารระดับกลางโรงเรียนในเครือคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร, transformational leadership, mid-level administrators, schools of the sisters of Saint Paul de ChartresAbstract
การวิจัยนี้ใช้ระเบียบการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพ ปัจจุบันของภาวะผู้นำและการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่พึงประสงค์ของผู้บริหารระดับกลางฯ (2) กลยุทธ์ การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงฯ ประชากรคือโรงเรียนในเครือฯจำนวน 21 โรง ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ หัวหน้าฝ่าย/แผนก/ระดับ/กลุ่มสาระการเรียนรู้และครู จำนวน 345 คน เครื่องมือเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบประเมินความเป็นไปได้ของร่างกลยุทธ์ฯ สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น มีวิธีดำเนินการวิจัย 9 ขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพ ปัจจุบันของภาวะผู้นำและการพัฒนาภาวะผู้นำฯทั้งภาพรวมและจำแนกตามรายด้านอยู่ในระดับมาก สภาพที่ พึงประสงค์ของภาวะผู้นำและการพัฒนาภาวะผู้นำฯทั้งภาพรวมและจำแนกตามรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เช่นเดียวกัน เมื่อนำมาหาค่าความต้องการจำเป็นได้ค่าเฉลี่ย 0.16 พบว่า ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะ ผู้นำฯ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การกระตุ้นทางปัญญา การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล การสร้าง แรงบันดาลใจและการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (2) กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ระดับกลางของโรงเรียนในเครือฯ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ กลยุทธ์กระตุ้นทางปัญญา กลยุทธ์เพิ่มคุณค่า ในตัวเอง กลยุทธ์สร้างแรงบันดาลใจและกลยุทธ์พัฒนาผู้นำที่มีอุดมการณ์ และมีกลยุทธ์รอง 16 กลยุทธ์ 32 วิธีดำเนินการ
Strategies for Developing Transformational Leadership of Mid-Level Administrators under the Sisters of Saint Paul de Chartres in Thailand
The purpose of this research is (1) to study the current and expected states of leadership and the desired development the transformational leadership of Mid-level Administrators under the sisters of Saint Paul de Chartres in Thailand, and (2) to develop strategies for developing the transformational leadership of mid-level administrators. The research design consists of 21 schools. The data were gathered from 345 Schools directors, vice directors, sections leaders, department leaders, level leaders and learning group leaders. The instruments are questionnaires and the possible assessment of strategy pattern. () and SD are used in the data analysis and the priority needs index modified. Research methodology consists of nine steps. The research result are. (1) Both of the whole conclusion and individual issues of current states of transformational leadership of mid-level administrators are in the high level and the expected states of strategies for developing the transformational leadership are in the highest level in both of the whole conclusion and individual issues. The average’s priority needs index modified is 0.16 which shows that the significant priority consists of intellectual stimulation, individual consideration, inspiration motivation and idealized influence (2) the strategies consists of four main strategies (1) idealized influence (2) inspiration motivation (3) intellectual stimulation (4) individual consideration with sixteen sub strategies and thirty procedures.