การพัฒนาตัวแบบความเป็นหุ้นส่วนทางการศึกษาสำหรับสังคมไทย

Authors

  • ชรินทร์ สีทับทิม หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2554
  • บุญทัน ดอกไธสง หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระพรมราชูปถัมภ์
  • บุญเรือง ศรีเหรัญ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระพรมราชูปถัมภ์

Keywords:

ตัวแบบ, หุ้นส่วนทางการศึกษา, สังคมไทย, model, educational partnership, society

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษา (1) การนำนโยบายความเป็นห้นุ ส่วนทางการศึกษาไปปฏิบัติ (2) องค์ประกอบ ความเป็นหุ้นส่วนทางการศึกษา และ (3) พัฒนาตัวแบบความเป็นหุ้นส่วนทางการศึกษา ใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือการวิจัย คือ เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การวิจัยสนาม และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง 268 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัย พบว่า (1) การบริหาร จัดการศึกษาแบบรวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลาง รัฐมิได้สร้างความพร้อมของพ่อแม่ผู้ปกครอง ต้องเริ่มจากการทำโรงเรียน ให้มีคุณภาพ (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเป็นหุ้นส่วน คือ ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก องค์ประกอบความเป็น หุ้นส่วนทางการศึกษาที่สำคัญมี 3 ประการคือ ด้านความสัมพันธ์ ด้านการแบ่งปันความรับผิดชอบ และ ด้านความร่วมมือ ร่วมใจ (3) ตัวแบบความเป็นหุ้นส่วน มี 2 ระยะคือความเป็นหุ้นส่วนจำเป็น และความเป็นหุ้นส่วนสมบูรณ์แบบ เรียกว่าความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาคประชาชน ภาคเอกชนและภาครัฐ

 

The Development of Educational Partnership Model for Thai Society

The objectives of this research were to study the implementation and factors of educational partnership policy and subsequently develop a model for it. The approach of mixed method research was applied using qualitative and quantitative methods. The tools used were documentary research, in-depth interviews, field research and a questionnaire with 268 respondents. The data were analyzed by confirmatory factor analysis. The findings showed that the implementation of educational partnerships policy was a centralized education management of bureaucracy lacking in parenting readiness. Two factors, internal and external influenced the educational partnerships with the essential factors comprising of three key factors namely relationship, responsibility sharing, and collaboration. The developed educational partnership model called People-Private-Public Partnerships or PPPs consisted of two stages namely essential partnership and comprehensive partnership.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย