รูปแบบการบริหารสถาบันทางวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้การเทียบเคียงสมรรถนะองค์กร

Authors

  • วราภรณ์ แผ่นทอง นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

Keywords:

สถาบันทางวิชาการ, สถานศึกษาขั้นพื้นฐานเอกชน, การเทียบเคียงสมรรถนะองค์กร, benchmarking utilization, Bangkok metropolitan area

Abstract

บทความนี้รายงานการวิจัยแบบผสมเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นสถาบัน ทางวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้การเทียบเคียงสมรรถนะองค์กร และเพื่อ ตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 253 โรงเรียน และแบบสัมภาษณ์จากผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อใช้ในการเทียบเคียงสมรรถนะจำนวน 3 โรงเรียน ผลการวิจัยพบว่า (1) ความเป็นสถาบันทางวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้การเทียบเคียง สมรรถนะองค์กร ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตรได้ประเด็นสำคัญคือ การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและ ยึดผลการพัฒนาผู้เรียนเป็นที่ตั้ง ด้านการจัดการเรียนการสอนได้ประเด็นสำคัญคือ งบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ ทีมงาน บริหารเพื่อความเป็นสถาบันทางวิชาการ และการสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ๆ ในทางวิชาการ ด้านการนิเทศภายในได้ ประเด็นสำคัญ คือ มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีความรับผิดชอบในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน ด้านการวัด และการประเมินผลได้ประเด็นสำคัญคือ พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้ได้ตามเป้าประสงค์ของการปฏิรูปการศึกษา ในทศวรรษที่สอง การแสวงหาข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์สูงสุด (2)ได้รูปแบบการบริหารสถาบันทางวิชาการของ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร แบบ PRAGMATIC 4 ด้าน คือ หลักสูตรและการบริหาร หลักสูตร การนิเทศภายในการจัดการเรียนการสอน และการวัดและการประเมินผล (3)รูปแบบการบริหารสถาบันทาง วิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร แบบ PRAGMATIC และคู่มือการใช้รูปแบบ มีความ เหมาะสมในการนำไปใช้ในภาพรวมอยู่ในระดับดี

 

An Academic Institutionalization Management Model of Private Basic Education Institutions by Benchmarking Utilization In the Bangkok Metropolitan Area

The research objectives are: to study the academic institutionalization for the private basic education school in Bangkok Metropolis by benchmarking utilization; develop the academic institutionalization model for the private basic education school in Bangkok Metropolis; Improve the academic institutionalization model for the private basic education school in Bangkok Metropolis. The research is divided into three stages based on the stated objectives. The findings indicate the following: (1) The results of the academic institutionalization for the private basic education school in Bangkok Metropolis by benchmarking utilization are as follows: curriculum and curriculum management are determined based on the fundamental factors of the participation of all parties involved and focused on learner-centered ability. Teaching and learning management are determined based on funding and materials, the administrative team fulfilling its role as an academic institution and the development of new academic knowledge. Internal orientation is determined based on having a positive attitude towards the profession and the responsibility for education management in order to develop the learners’ potential. Assessment and evaluation are determined based on developing the learners’ potential to achieve the target goal of Educational Reform in the Second Decade and searching for the most beneficial information. (2) The administrative style of the academic institutions is PRAGMATIC, covering the four aspects of the role of academic institutions, namely, curriculum and curriculum management, internal orientation, teaching and learning management, and assessment and evaluation. (3) The PRAGMATIC style of administration for the private basic education in Bangkok Metropolis and the manual for its implementation are appropriate and good as a whole.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย