การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการบริหารงาน ขององค์การบริหารส่วนตำบลในประเทศไทย

Authors

  • ศิริชัย เพชรรักษ์ นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

Keywords:

การมีส่วนร่วมของประชาชน, การตรวจสอบ, องค์การบริหารส่วนตำบล, people’s participation, ocal government organizations, participation in examining, distract administration

Abstract

การวิจัยนี้ศึกษาการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในประเทศไทย ในด้านระดับการมีส่วนร่วม ของประชาชน ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน และนำเสนอแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการตรวจสอบการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในประเทศไทยให้ประสบความสำเร็จและ ยั่งยืน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 15 คนและ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ ขององค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 1,600 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ค่าสถิติ ที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ สมการความถดถอยเชิงพหุ สัมประสิทธิ์การตัดสินใจเชิงพหุ การวิเคราะห์อิทธิพล และสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) ประชาชนมีการ เปิดรับข่าวสารการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลอยู่ในระดับน้อย ขาดการรับรู้ในสิทธิหน้าที่ของตนเอง ความหวาดกลัวอิทธิพลของนักการเมืองท้องถิ่น เบื่อหน่ายต่อระบบอุปถัมภ์ และการขาดแรงจูงใจในการเข้าไปมีส่วนร่วม (2) ประชาชนมีส่วนร่วมในระดับน้อย (3) ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบ การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล คือ การรับรู้สิทธิหน้าที่ ความพึงพอใจในการให้บริการ ความคาดหวังต่อ องค์การบริหารส่วนตำบล และการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการมีส่วนร่วม คือ การเปิดรับ ข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลที่ผ่านแรงจูงใจในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ (4) การจะพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบองค์การบริหารส่วนตำบลให้ประสบความสำเร็จและยั่งยืน จะต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน NGO สื่อมวลชน และภาคประชาชนในการสร้างเครือข่าย ในการตรวจสอบการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล

 

People’s Participation in Examining the Management of District Administration Organization in Thailand

The objectives of this research are to study people’s participation in examining the management of local administrative organizations in Thailand in terms of related problems, the levels of participation, and the variables related to the levels of participation to be able to propose guidelines for the successful and sustainable development of people’s participation. The samples include 15 chosen experts and 1,600 people living in administrative organization areas. The research instruments used for data collection were questionnaires and interviews. The statistics used for analysis are average, standard deviation, correlation coefficient, multiple regression equation, multiple regression coefficient, path analysis, and descriptive statistics. Findings show that: the problems of people’s participation included limited access to information on the management of local administrative organizations, lack of knowledge of their rights and duties, fear of the local politicians’ indifference, satisfaction with the services of local administrative organizations and the lack of motives for participation. People’s participation was found at a low level. The variables which correlated with the levels of people’s participation consisted of motives for participation, recognition of their rights and duties, satisfaction with the services, expectations of local administrative organizations and access to information. The successful and sustainable development of people’s participation will depend on the cooperation of the government, the NGOs and the private and public sectors in creating a network.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย