อัตลักษณ์นิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา

Authors

  • สุภัชฌาน์ ศรีเอี่ยม นักศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย

Keywords:

อัตลักษณ์นิสิตนักศึกษา, สถาบันอุดมศึกษา, students’ identity, higher education institute

Abstract

การวิจัยเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์นิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาปัจจุบัน ประชากรคือ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาในชั้นปีที่ 1 จำนวน 49,431 คน สุ่มจากตารางยามาเน่ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 621 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบวัดการมีอัตลักษณ์นิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลคือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) องค์ประกอบของอัตลักษณ์ นิสิตนักศึกษาคือ อัตลักษณ์ด้านเฉพาะบุคคล ประกอบด้วย ความมั่นใจในร่างกาย การบทบาททางเพศ และอัตลักษณ์ ด้านสังคม ประกอบด้วย ศาสนา วัฒนธรรมประเพณี การเมือง อัตลักษณ์ด้านการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย การมี อุดมการณ์ การคบเพื่อน การมีจิตสาธารณะ อัตลักษณ์ด้านวิชาการ ประกอบด้วย การเตรียมตัวเพื่ออาชีพ การมีทักษะ การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (2) ในภาพรวมอัตลักษณ์นิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ด้านบวกอยู่ในระดับจริงมาก โดยด้านเฉพาะบุคคลมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ส่วนในภาพรวมด้านลบอยู่ในระดับจริงปานกลาง โดยด้านการดำเนินชีวิตมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด

 

Student Identity Development in Higher Education Institutions

This descriptive research aims to study the identities of students studying in higher education institutes. The population were 49,431 students studying in first year level. The size of the sample is calculated through Yamane Table. The sample were 621 students. The research instrument used were questionnaires. Statistics used in analyzing the data were percentage, mean, standard deviation. The findings show that: (1)The identities of the students consists of various parts including individualism, socialism such as religion, culture, tradition, and politics, living including lives’ destination, friends, and hospitality, academic such as career readiness, communication skills, technology skills, and lifelong learning. (2) the overall positive student identity is reported as “very true” level; especially, the individualism part that reaches the highest level. While, the overall negative student identity is reported as “fairly true” level. Living is the highest scored identity report for this part.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย