ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4

Authors

  • ทศพร บรรจง นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม

Keywords:

การเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค, นักเรียนมัธยมศึกษา, affecting the adversity, secondary school students

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ ศึกษาระดับความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค และศึกษา ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยศึกษากับตัวอย่าง นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 400 คนจากโรงเรียนมัธยมศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม ปัจจัยที่เป็นตัวแปรพยากรณ์จำนวน 7 ฉบับ และแบบสอบถามตัวแปรเกณฑ์ จำนวน 1 ฉบับ การตรวจสอบ ความ เที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือ พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.6-1.0 การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการ แจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์การกระจายค่าสถิติพื้นฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับความสามารถในการเผชิญปัญหา และฟันฝ่าอุปสรรคของ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมและรายด้านได้แก่ ด้านการควบคุม ด้านสาเหตุ และความรับผิดชอบ ด้านความสามารถด้านความเข้าใจ และด้านความยืดเยื้อของปัญหา อยู่ในระดับปานกลาง (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียน ได้แก่ สัมพันธภาพระหว่างนักเรียน กับนักเรียน และบุคลิกภาพแบบมีสติ ส่งผลในเชิงบวก แต่ ปัจจัยบุคลิกภาพแบบหวั่นไหว ส่งผลในเชิงลบ

 

Factors Affecting the Adversity Quotient of Students in Mathayomsuksa IV

This research studies the adversity quotient and the factors affecting the adversity quotient of students in Mathayomsuksa IV. The sample group consists of 400 students in Mathayomsuksa IV at the Secondary Education Service Area Office 5. A questionnaire was used to gather data to measure the factors affecting the adversity quotient. Statistics used to analyze the data were Pearson Product Moment Correlation Coefficient and Multiple Regression. The results showed that: the adversity quotient was at the middle level; the elements of the adversity quotient included control, origin and ownership, and reach and endurance which were at the middle level; the factors affecting the adversity quotient consisted of positive factors, namely student relationships and mindfulness and a negative factor which was personality.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย