รูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาเพื่อเพิ่มพลังอำนาจการทำงานของครู ในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Authors

  • บรรเจิด อุ่นมณีรัตน์ นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษาและผู้นำการเปลี่ยนแปลง มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

Keywords:

การเพิ่มพลังอำนาจการทำงาน, การบริหารจัดการศึกษา, ประถมศึกษา, รูปแบบ, Empowerment, management, elementary, model

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มพลังอำนาจการทำงานของครู ในสถานศึกษาระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพ ปัจจุบันการเพิ่มพลังอำนาจการทำงานของครูในสถานศึกษาระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และครูมีความต้องการได้รับการเพิ่มพลังอำนาจการทำงานในภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก (2) รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มพลังอำนาจการทำงานของครูในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีจำนวน 11 องค์ประกอบ คือ การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน การพัฒนา โครงสร้างของโรงเรียน การวางระบบงาน การสร้างแรงจูงใจ การสร้างเสริมศักยภาพ การส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือ การสร้างบรรยากาศการทำงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน การสื่อสาร การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม และภาวะผู้นำในการ เพิ่มพลังอำนาจการทำงาน (3) เมื่อนำรูปแบบไปทดลองใช้ในสถานการณ์จริงพบว่าสามารถทำให้ครูมีพลังอำนาจในการ ทำงานสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (4) ผลการประเมินรูปแบบพบว่า ในภาพรวมรูปแบบมีความถูกต้องเหมาะสมเป็นประโยชน์และเป็นไปได้ในระดับมาก

 

A Model of Education Management for Teacher’s Empowerment In Elementary Schools Under the Office of The Basic Education Commission

The purpose of this research was to propose a Model of Education Management for Teacher’s Empowerment in Elementary schools under Office of The Basic Education Commission. The data was analyzed using standard statistical methods, to find frequency distribution, percentages, means, standard deviations and t-test The research findings were as the following (1) According to the recent condition of elementary schools, the overall of teacher’s empowerment was in the moderate level and the needs for the overall teacher’s empowerment were in high level. (2) The model of education management for teacher’s empowerment had 11 factors: sharing consensus vision, developing school structure, setting working system, creating motivation, encouraging potentiality, promoting and developing cooperation, creating working atmosphere, evaluating working performance, communicating, adjusting culture and empowering leadership. (3) After applying the model in the real situations, it was found that the teacher’s empowerment was significantly high at level .01 (4) The overall opinions on the evaluation of a model was in high level.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย