รูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการและการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของผู้เรียนด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร
Keywords:
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, developing educational, basic educationAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการงานวิชาการและกระบวนการเรียนการสอนที่มีผลต่อ คุณภาพผู้เรียนด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการและกระบวนการเรียนการสอน และเพื่อประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาใช้หลักการบริหารของ AASA และ ทฤษฎี 4 MAT ของ McCarthy เป็นกรอบความคิดเชิงทฤษฎี เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามถามผู้บริหารและครูในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานครที่มีการปฏิบัติที่ดีจำนวน 205 โรงเรียน ในช่วงเดือนมกราคม 2553 วิเคราะห์ข้อมูล รูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการที่เหมาะสมด้วย path analysis หลังจากนั้นหาประสิทธิภาพของรูปแบบโดยให้ ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาให้คะแนนและหาความสอดคล้องโดยใช้สถิติทดสอบ Concordance หาความเชื่อมั่นโดย Cronbach’s alpha จากผลการวิจัย พบว่า (1) การวางแผน ส่งผลต่อ การกระตุ้น การประสานงาน และ การสร้างประสบการณ์เฉพาะ ของผู้เรียน (2) การจัดสรรทรัพยากร ส่งผลต่อ การกระตุ้น (3) การประสานงาน ส่งผลต่อ การประเมินผล และ (4) การประเมินผล ส่งผลต่อ การเชื่อมโยงการเรียนรู้จากการทดลองปฏิบัติด้วย และจากการทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบ การบริหารจัดการงานวิชาการที่กำหนดขึ้นโดยการประชุมกลุ่ม พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการและการเรียน การสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ
An Academic Affairs Administrative and Instructional Model for Developing Educational Quality of Learners on the Analytical Thinking Skills in Basic Education Institutions in Bangkok Metropolis
This research were to study the conditions of an academic affairs administration and instructional practices; to develop and evaluate a model of an academic affairs administration and instruction. The research employed the descriptive methods, the administrative principles of AASA and the 4 MAT theory of McCarthy as theoretical framework. The research instruments used for data collection were questionnaires filled out by administrators and teachers of basic education institutions under the supervision of Bangkok of 205 schools in January 2010. The statistics used was path analysis. The effectiveness of the model was found by qualified experts’ consideration and the consistency was tested using concordance testing statistics. The results show that (1) Planning had an effect on motivation, coordination, and specific experience building of learners, (2) Human resource management had an influence on motivation, (3) coordination affected evaluation, and (4) evaluation had an effect on the linking of self-practiced trial with insightful knowledge by motivation, specific experience building of learners, total thinking development, the practice and development of concepts into actions, and the linking of self-practiced trial that created insightful knowledge affecting the quality of learners’ education. The Focus Group and testing of effectiveness of the model revealed that the developed model of an academic affairs administration and instruction was effective.