การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Authors

  • สุภัทร พันธ์พัฒนกุล นักศึกษาหลักสูตรศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม

Keywords:

การบริหารสถานศึกษา, ประสิทธิผลการมัธยมศึกษา, Administrative management, The effective development of high schools

Abstract

วัตถุประสงค์ของการศึกษาแบบผสมผสานนี้ เพื่อพัฒนารูปแบบและประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีขั้นตอนดำเนินการ 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย การศึกษา ข้อมูลการบริหาร การยกร่างรูปแบบการบริหาร การตรวจสอบรูปแบบ และการประเมินรูปแบบการบริหาร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียนและครู โรงเรียนมัธยมศึกษาที่เลือกมาแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการในช่วงปี 2554 การวิเคราะห์เนื้อหา ใช้การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา สรุปได้ดังนี้ (1) รูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผล เป็นการบริหารเชิงระบบ และการบริหารคุณภาพ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า คือ การนำองค์การ การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล ธรรมาภิบาล และวัฒนธรรมโรงเรียน ด้านกระบวนการ คือ การวางแผนกลยุทธ์ การจัดการกระบวนการ การให้ความสำคัญกับนักเรียน ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และ การจัดการความรู้ ส่วนด้านผลผลิต คือ ทำให้ได้ผู้เรียน เก่ง ดี และมีความสุข ส่วนครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพ และมาตรฐาน ชุมชนมีจิตอาสาช่วยเหลือโรงเรียน ทั้งนี้โรงเรียนจะต้องคิดแก้ปัญหา โดยใช้วิธีการคิดนอกกรอบ ตามสภาพ แวดล้อมภายนอกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ (2) รูปแบบนี้มีประโยชน์มาก มีความสอดคล้อง และความเป็นไปได้ ส่วนความเหมาะสม จำเป็นจะต้องพิจารณาจากขนาดของโรงเรียน ความเป็นอัตลักษณ์ในการบริหารที่ชัดเจน (3) รูปแบบ การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผลจะต้องมีกระบวนการขับเคลื่อนในการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่ กับเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาที่ก่อตั้งโรงเรียน การมีสมาคมศิษย์เก่า ผู้ปกครองนักเรียน ที่มีความผูกพันและให้การ สนับสนุนร่วมมือพัฒนาโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง มีการปรับตัวเพื่อการแข่งขันให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

Development of an Effective Secondary School Administration Model under Office of the Basic Education Commission

The objectives of this research were to develop the effective administration model for secondary school and to evaluate that model. A mixed method research was 4 steps: to study about school effectiveness, to make the draft scheme, to determine, and to evaluate the effectiveness of Secondary Schools. The samples are administrators and teachers that purposively selected in secondary schools. Data collected during the year 2011, analyzed by content analysis, frequencies, percentage, mean and standard deviation. The research reveals that (1) The effective administrative model is a system theory and qualitative assurance. Three main components were input, process and output. The input elements had leadership, faculty and staff focus, good governance and school culture. The process elements in clued contain planning, process management, customer and stakeholder focus, and knowledge management. Process should include academic, budgets, personnel and general administration. The output elements have the effective students qualified teachers and educational personnel’s, community volunteers to support the school. However, for the process the schools should think out of the box for the change internal environment. (2) In evaluating this model it is found that the model is useful, in an appropriate and feasible. However school size and identity should be considered. (3) The effective administration model should be systematically developed under the support of continuously, the parent and alumni association to achieve sustainable development.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย