การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

Authors

  • พิเชษฐ ไพบูลย์ศิริ นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม

Keywords:

ผู้สูงอายุ, คุณภาพชีวิต, การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม, aging, older people, quality of life, training curriculum

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและเพื่อประเมิน ประสิทธิภาพและประสิทธิผลหลักสูตรดังกล่าว รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi- experimental design) แบบ Pretest-Posttest Design กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดสิงห์บุรีจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัยคือหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จำนวน 5 หน่วยการเรียนรู้ แบบวัดสมรรถภาพร่างกาย แบบวัดความจำ ความเครียด ความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมระหว่างการทดลองใช้หลักสูตรมีการประเมินความ รู้สึกคุณค่าต่อตนเอง การสังเกตพฤติกรรมผู้เข้าอบรมระหว่างการทดลอง ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่ม คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทั้ง 5 หน่วยการเรียนรู้มีประสิทธิภาพจากการตรวจสอบท้ายหน่วยการเรียนรู้ทั้งผู้เข้าอบรม สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ร้อยละ 80 หลังการอบรมผู้สูงอายุมีสมรรถภาพร่างกายดีขึ้น รอบเอวลดลง ความเครียดลดลง ความจำดีขึ้นเล็กน้อย ความรู้สึกต่อตนเองคงที่ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจในการเข้ารับการอบรมระดับมากถึงมากที่สุด การวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะให้นำหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไปใช้ในกลุ่มผู้สูงอายุในกลุ่มอื่นๆ ต่อไป

 

Curriculum Development for Increasing the Quality of Life in the Aging

The purposes of this study are to design a training curriculum for enhancing the quality of life for the aged and to evaluate the efficiency and effectiveness of the curriculum. The research design was quasi-experimental with pre-test and post-test. Fifty older persons served as a sample. Research tools included the training curriculum, body competencies, stress test, memory test, training satisfaction and self-esteem observation. The result found that the curriculum was efficient as the sample persons were able to pass the curricular objectives. After training the sample persons had better body competencies, less stress, better memory, and stronger self-esteem than before. In addition, their satisfaction level in the training program ranged from high to highest. The researcher suggests that the curriculum be utilized to enhance older people’s quality of life.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย