การมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีต่อการจัดการขยะมูลฝอย ขององค์การบริหารส่วน ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

Authors

  • กุลวดี เถนว่อง อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

Keywords:

การมีส่วนร่วมของชุมชน, พฤติกรรมของชุมชน, การยอมรับของชุมชน, การจัดการขยะ, ขยะมูลฝอย, public community participation, community behavior, community acceptance, waste management, solid waste

Abstract

การวิจัยนี้ ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมที่มีต่อการจัดการ ขยะมูลฝอยของคนในชุมชน ตำบลคลองสาม จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ทำการสุ่มตัวอย่าง แบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Random Sampling) โดยมีสุ่มอย่างง่าย(Simple Random Sampling) และการสุ่ม แบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) ใช้กับข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ (Percent) สำหรับข้อมูล เชิงคุณภาพมีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงร่วม เป็นการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษาพบว่า คนในชุมชนมีพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย (หลัก 4 R) ที่ปฏิบัติบ่อยมากที่สุด คือ การใช้ซ้ำ (reuse) ในเรื่อง การเก็บถุงพลาสติกที่ยังใช้งานได้และนำกลับมาใช้อีกมากที่สุด รองลงมาคือ การลดการใช้ (reduce) การซ่อมแซม (repair) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle) เป็นลำดับสุดท้าย โดยมีเหตุผลที่สำคัญ คือ เพราะการแยกขยะที่สามารถ รีไซเคิลเพื่อนำไปขาย หรือนำไปใช้ประดิษฐ์เป็นสิ่งของต่างๆ ชิ้นใหม่ขาดการรณรงค์อย่างเป็นรูปธรรม

การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกับโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน พบว่า มีส่วนร่วมน้อยมาก สาเหตุ สำคัญเพราะ ขาดการประชาสัมพันธ์ และประสานงานจากหน่วยงานท้องถิ่น หัวหน้าชุมชน นิติหมู่บ้าน ทำให้ขาดความ เข้าใจ และการรับรู้ การยอมรับของคนในชุมชนต่อการจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม พบว่า ส่วนใหญ่มีความรู้ในหลักการจัดการขยะอย่างถูกวิธี แต่ไม่สามารถทำตามหลักการได้ เพราะเมื่อแยกขยะแล้ว รถขยะ นำขยะไปเทรวมกัน สำหรับแนวทางการจัดการขยะที่กองไว้เป็นจำนวนมากที่คนในชุมชนยอมรับมี 2 วิธี คือ (1) แยกขยะ เป็นขยะสด ซึ่งนำไปทำปุ๋ยให้เกษตรกร และขยะแห้งให้นำไปเผาในกระบวนการที่ถูกวิธี (2) จัดหาบริษัทที่นำเทคโนโลยี สะอาดมาเผาขยะทั้งหมดที่มีอยู่ แต่ต้องไม่กระทบกับความเป็นอยู่ของชาวบ้าน

 

Public of the Community Participation Towards Solid Waste Management of Khlong Sam Administration Organization in Khlong Luang Sub-district, Pathum-thani Province

This research used a mixed method. The objectives of study were to study community behavior and participation towards solid waste management of Khlong Sam administration organization in Khlong Luang sub-district, Pathum-thani province. Quantitative data were collected by means of Multi stage random sampling, Simple random sampling and Cluster sampling. The data were analyzed by using percentage. The qualitative data were analyzer using content analysis.

The results showed that People in the community have behavior of Solid Waste Management (the 4 R) the most frequent was the repeated use in the collection of plastic bags were used and reused as much as possible, followed by reduce repair reuse and recycle final. The reason important was the waste can recycled for sale or invention new product applied. The lack of a concrete campaign.

Participation of the community with projects or activities found to have contributed the least. Mainly because The lack of publicity. And coordination of local authorities, village chiefs, community and lack of understand and perception.

Acceptance of solid waste management in the community of Tambon Khlong Sam. Found to be most knowledgeable in the principles of waste management in the right way. But can not follow the concepts. Garbage to the garbage truck to pour together. People in Khlong Sam, agreed that, guidelines for appropriate solid waste management are as follows: (1) Sorting of solid waste for composting, the rest should be incinerate properly. (2) Outsourcing to clean Technology company to incinerate all solid waste without any effect to the people.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย