การประเมินการใช้หลักสูตรบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Authors

  • เสวียน เจนเขว้า ประธานสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • เพ็ญรุ่ง แป้งใส อาจารย์ประจำสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Keywords:

การประเมินการใช้หลักสูตร, หลักสูตรบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, curriculum evaluation curriculum library and information sciences curriculum, Phranakorn university

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการใช้หลักสูตรบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร (หลักสูตรปรับปรุงพุทธศักราช 2549) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ อาจารย์ผู้สอน จำนวน 6 คน และนักศึกษาสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 2-4 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 67 คน รวม 73 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผลประเมินการใช้หลักสูตร บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร (หลักสูตร ปรับปรุงพุทธศักราช 2549) ตามความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้าน ผลผลิต มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านกระบวนการ ด้านบริบทและด้านปัจจัยเบื้องต้นตามลำดับ

 

Evaluation of Using Library and Information Science Curriculum of the Faculty of Humanities and Social Sciences, Phranakhon Rajabhat University

The purpose of this research is to evaluate the use of the Library and Information Science curriculum of the Faculty of Humanities and Social Sciences, Phranakhon Rajabhat University (the revised 2006 curriculum). The total population is 73 participants collected from six instructors and sixty-seven second- through fourth-year students of the Library and Information Science Program in the 2009 academic year. The primary research tool is questionnaires. The statistics employed in this research are percentage, mean and standard deviation. The research results reveal that the evaluation of the aforementioned curriculum usage, according to the participants’ opinions, is overall at a high level in all aspects. In addition, the product is ranked at the highest level, followed by the process, the context, and the input respectively.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย