การบริหารจัดการภารกิจคณะสงฆ์ในเขตการปกครองจังหวัดสิงห์บุรี

Authors

  • พระมหาฐณวัฒน์ ศรีประเสริฐ นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

Keywords:

ภารกิจคณะสงฆ์ในเขตการปกครองจังหวัดสิงห์บุรี, administration of sangha, ecclesiasi region governance of Singhaburi

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผสมผสานกับ การวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การบริหาร จัดการภารกิจคณะสงฆ์ในเขตการปกครองจังหวัดสิงห์บุรีสามด้าน ประกอบด้วย กิจกรรมด้านการปกครอง กิจกรรม ด้านการศึกษา และกิจกรรมด้านสาธารณูปการและเพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการภารกิจคณะสงฆ์ในเขต การปกครองจังหวัดสิงห์บุรีเพื่อการบริหารจัดการที่ประสบผลสำเร็จ การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้การสัมภาษณ์ กับการตอบแบบสอบถาม และแบบการสนทนากลุ่ม ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ เจ้าอาวาส รอง/ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส หรือ พระที่รับผิดชอบจากจำนวน 182 วัด โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีของทาโร่ ยามาเน่ ได้จำนวน 31 กลุ่มตัวอย่าง วัดละ 1 รูป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความสัมพันธ์ Spearman’s Rho correlation, and Pearson’s correlation ผลการศึกษาพบว่าในภาพรวมวัดมีความพร้อมไม่เท่ากันในการจัดการ ศึกษา ส่วน การบริหารจัดการภารกิจคณะสงฆ์ในเขตการปกครองเป็นหน้าที่สำคัญของเจ้าอาวาสและ ปัจจัยส่วนบุคคล ไม่มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการภารกิจคณะสงฆ์ ค่าความสัมพันธ์การบริหารจัดการภารกิจคณะสงฆ์และผลการ วิเคราะห์สังเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการภารกิจของคณะสงฆ์ พบว่า ด้านการศึกษานั้น คณะสงฆ์ควรเป็นผู้กำหนด หลักสูตรการเรียนการสอนในแผนกสามัญเองส่วนด้านการปกครอง คณะสงฆ์ควรให้พระในวัดทุกรูปมีส่วนร่วมในการ ตัดสินใจทำงานเป็นทีม ด้านสาธารณูปการ คณะสงฆ์ควรจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงในการใช้ทรัพยากรและอุปกรณ์ต่างๆ ของวัด เพื่อป้องกันการชำรุดสูญหายและควรจัดให้มีการทำรายงาน ทรัพย์สินของวัด

 

The Administration of Sangha in Ecclesiasi Region Governance of Singburi

This study used a mixed-methodology to examine the practice in administrative responsibilities of the Sangha under the Governmental Region of Singburi Province. Three administrative responsibilities are examined: education, administration, and public welfare. A model for the practice in administrative responsibilities of the Sangha is proposed. A sample group of 31 wats was selected from the total of 182 using the Taro Yamane technique. Data was collected from interviews, questionnaires, and a focus group. Data were analyzed to find percentage, mean, standard deviation. Spearman’s Rho correlation and Pearson correlation were applied to find and test correlations. The results reveal that, in general, wats are not equally prepared to provide educational services, while the administrative responsibilities are found to be important duties, and that monks’ personal factors were not related to the administrative responsibilities; The analysis of the relationships between the administrative duties and in synthesizing the proposed model for the practice in administrative duties showed that curriculum for general education for monks should be constructed by the Sangha. Monks at all levels should be allowed to participate in wat management. Decision-making should be made in teams. Plans for risk-management activities, to administer resources and other technical media of wats need to be developed and a list of resources and equipment that wats own should be kept and maintained.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย