รูปแบบสมรรถนะการบริหารของผู้กำกับการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
Keywords:
สมรรถนะการบริหาร, ผู้กำกับการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ, competency for the administration, police superintendents in the Royal Thai Police officeAbstract
การวิจัยเชิงผสมผสานนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สมรรถนะการบริหารของผู้กำกับการในสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับสมรรถนะการบริหารของผู้กำกับการ (3) ปัจจัยคุณลักษณะ ที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะการบริหารของผู้กำกับการ ในภาพรวมและรายด้าน (4) เส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ หาผลกระทบทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยคุณลักษณะที่มีต่อสมรรถนะการบริหาร และ (5) นำเสนอรูปแบบสมรรถนะ การบริหารของผู้กำกับการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 405 คน สุ่มจากประชากร 2,626 คน เป็นผู้บริหารระดับกลางคือ ข้าราชการตำรวจที่ดำรงตำแหน่งผู้กำกับการในสำนักงานตำรวจ แห่งชาติ และได้สัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงในสำนักงานตำรวจแห่งชาติแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 21 คน เพื่อสนับสนุน ความเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะและสมรรถนะการบริหารของผู้กำกับการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ และค่าวิเคราะห์ เส้นทางความสัมพันธ์ ผลการศึกษา พบว่า (1) ผู้บริหารระดับผู้กำกับการมีสมรรถนะการบริหารในภาพรวมในระดับมาก (2) ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการบริหารของผู้กำกับการในภาพรวม (3) ปัจจัยคุณลักษณะทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ความรู้ ทักษะ ความสามารถ แรงจูงใจ และทัศนคติ มีอิทธิพลต่อสมรรถนะการบริหารของผู้กำกับการ ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติในภาพรวม (4) ปัจจัยคุณลักษณะทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ความรู้ ทักษะ ความสามารถ แรงจูงใจ และทัศนคติ มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อสมรรถนะการบริหารของผู้กำกับการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติเชิงบวก (5) รูปแบบสมรรถนะการบริหารของผู้กำกับการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติตามลำดับความสัมพันธ์ ประกอบด้วยปัจจัย คุณลักษณะด้านทัศนคติ แรงจูงใจ ความสามารถ ทักษะ และความรู้ ซึ่งสามารถสร้างเป็นรูปแบบในการศึกษาครั้งนี้ โดยให้ชื่อว่า รูปแบบสมรรถนะการบริหาร “A-MASK Model”
Competency Model for the Administration of Police Superintendent in the Royal Thai Police
The purposes of this mixed-method study are to (1) examine the competency for administration of the superintendents in the Royal Thai Police Office, (2) determine the relationship between personal characteristics and the competency for administration of the superintendents in the Royal Thai Police Office, (3) determine the factors influencing the competency of the superintendents in the Royal Thai Police Office in general and in specific areas, (4) determine the direct and/or indirect factors influencing the competency of the superintendents in the Royal Thai Police Office, and (5) propose the competency model for administration of the superintendents in the Royal Thai Police Office. Quantitative and qualitative methods were used to collect data. Twenty-one high-ranking administrative officers in the Royal Thai Police Office were interviewed. Their answers were analyzed and used as a guideline to construct the questionnaire collecting data from 405 superintendents, randomly selected from the population of 2,626 police officers holding medium rank. Statistical techniques used to analyze data were: average, standard deviation, t-test, F-test, Pearson Correlation and Multiple Regression Analysis, and path coefficient analysis. Findings showed, in general, that superintendents have a high competency for administration. There is no relationship between personal characteristics and the competency for administration and personal characteristics influencing the competency for administration consisted of 5 areas: knowledge, skill, ability, motivation, and attitude. The above five factors positively influence, both directly and indirectly, the competency of the superintendents. Therefore, the researcher proposes that the competency model for the administration of the superintendents in the Royal Thai Police consists of the five factors: attitude, motivation, ability, skill, and knowledge, respectively. This model is called “A-MASK Model.”