ปัญหาการใช้บัตรเครดิตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
Keywords:
ปัญหาการใช้บัตรเครดิตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร, credit card selection, usage and problems of consumers in BangkokAbstract
การวิจัยเรื่อง ปัญหาการใช้บัตรเครดิตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลส่วนบุคลของผู้ตอบแบบสอบถาม (2) ปัจจัยการตลาดของบัตรเครดิต (3) ข้อมูลการใช้บัตรเครดิต (4) ข้อมูลการเลือกใช้บัตรเครดิต (5) ปัญหาการใช้บัตรเครดิต (6) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคกับปัญหา ในการใช้บัตรเครดิต (7) เปรียบเทียบข้อมูลการเลือกใช้บัตรเครดิต ของผู้บริโภคกับปัญหาในการใช้บัตรเครดิต (8) เปรียบเทียบพฤติกรรมการเลือกใช้บัตรเครดิต ของผู้บริโภคกับปัญหาในการใช้บัตรเครดิต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้ใช้บัตรเครดิต คำนวณจากสูตรของทาโร่ยามาเน่ ได้จำนวน 400 สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t และ F-test ผลการวิจัยสรุป ได้ดังนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุ 21-30 ปี มีสถานภาพโสด มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ 20,001-25,000 บาท ส่วนใหญ่ครอบครองบัตรเครดิต 1 ใบ ซื้อสินค้าผ่านบัตรเครดิตต่อเดือนเป็นจำนวนเงิน 500-2,000 บาท มูลค่าต่ำสุดที่ใช้ในการชำระด้วยบัตรเครดิต 1,000 บาท มูลค่าสูงสุดที่ใช้ในการชำระด้วยบัตรเครดิต 10,000-20,000 บาท เลือกใช้บัตรเครดิตธนาคารไทยพาณิชย์ สมัครเลือกใช้บัตรเครดิตเนื่องจากมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ และชำระหนี้จากบัตรเครดิตผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ส่วนใหญ่เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิตแพงกว่าอัตราดอกเบี้ย ของบัตรทั่วไป เพศอายุ ระดับการศึกษาและรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันมีปัญหาในการใช้บัตรเครดิตแตกต่างกัน จำนวนบัตรเครดิตที่ถือครองนำไปสู่ปัญหาที่แตกต่างกัน
Credit Card Problems of Consumers in Bangkok
This is a research survey. The objectives are: (1) personal data, (2) marketing factors of credit cards (3) credit card usage behavior, (4) personal factors and credit cards usage, (5) compare selection of credit cards, (6) compare credit card usage behavior and related problems. A sample of 400 credit card users using Taro Yamane formula was used. The data was processed through statistical usage program using average, percentage, standard deviation, t-test and F-test values. Findings were: Most respondents who were in the middle income group working in private companies with a monthly income of 20,001-25,000 baht, Product, marketing channels, service and marketing promotion were important. Most respondents had one card, spent a minimum of 1,000 Bath a month up to 10,000- 20,000 every month. Credit card information was mostly gleaned from Siam commercial Bank. Buying credit cards was base on reception of the company. The payment was made at Bank counters. Most felt the interest rate on credit cards was high affected credit cards usage. Gender education, monthly income affected problems of family members did not affect usage. Using a minimum number or maximum number of cards led to differences in problems.