พฤติกรรมสารสนเทศของนักศึกษาสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษา

Authors

  • สุพัด ทองฉวี นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Keywords:

พฤติกรรมสารสนเทศ, นักศึกษาสาขาดุริยางคศาสตร์, information behaviors of Students in the field of music

Abstract

สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยเปิดสอนหลักสูตรดนตรีที่เป็นสาขาวิชาหนึ่งในคณะ หรือเป็นคณะดนตรี ซึ่งเปิดสอนวิชาดนตรีหลากหลายสาขาวิชา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทั้งทางวิชาการและ วิชาชีพดนตรี ห้องสมุดดนตรีจึงต้องเป็นแหล่งข้อมูลดนตรีที่สำคัญในการสนับสนุนการเรียนการสอน การศึกษาค้นคว้า และการประกอบอาชีพนักดนตรีทั้งในด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติดนตรีให้บริการสื่อดนตรีที่ตรงกับความต้องการ ของนักศึกษามากที่สุด และสามารถบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ ตอบสนองความต้องการของนักศึกษาได้อย่าง เหมาะสมและมีคุณภาพ ผู้วิจัยจึงศึกษาพฤติกรรมสารสนเทศของนักศึกษาสาขาวิชาดนตรี ที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัย ของรัฐและเอกชน จำนวน 383 คน จากการสุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Taro Yamane และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแจกแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t- test F- test และ การเปรียบเทียบรายคู่ โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษา ส่วนใหญ่มีความต้องการใช้สารสนเทศดนตรี เพื่อความบันเทิง พักผ่อนหย่อนใจ แหล่งข้อมูลทางด้านดนตรีที่ใช้มากที่สุด คืออินเทอร์เน็ตโดยใช้ search engine และสืบค้นจากชื่อศิลปิน ชื่อวง มากที่สุด นักศึกษาใช้สื่อดนตรีที่เป็นฐานข้อมูล ออนไลน์ และใช้เนื้อหาด้านการปฏิบัติดนตรีทักษะดนตรีมากที่สุด นักศึกษามีความตระหนักว่า การละเมิดลิขสิทธิ์เพลง เป็นผลเสียต่อผู้สร้างสรรค์ผลงาน และนักศึกษาส่วนใหญ่มีปัญหาการใช้สารสนเทศทางด้านดนตรีจากสื่อดนตรีเนื่องจาก มีราคาสูง เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมสารสนเทศ และปัญหาการใช้สารสนเทศดนตรีของนักศึกษาสาขาวิชาดุริยางคศาสตร ์ พบว่า นักศึกษาที่มีกลุ่มเพศ ชั้นปี และสาขาวิชาต่างกันมีพฤติกรรมสารสนเทศและมีปัญหาการใช้สารสนเทศดนตรี แตกต่างกัน

 

Information Behavior of Students in the Field of Music at Tertiary Institutions

In this research, the aim was to study the information behaviors of students in the field of music. Personal information regarding gender, year and field of study was compared to problems in the use of music information. The sample population garnered through Taro Yamane’s formula consisted of 383 undergraduate music students in 49 universities. The stratified random sampling technique and simple random sampling method was used while selecting universities. A questionnaire was devised. Data collected analyzed descriptive statistics, percentage, mean and standard deviation. Hypothesis testing using t test technique and the F test technique of one-way (ANOVA) was used.

Findings spotlighted that most students used music information found on line in data bases to better understand musical skills and musical practices. Problems occurred with relation to high cost of music media, paucity in libraries, insufficient musical information resources. Findings also related to difference in behavior related to gender, year of study.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย