นวัตกรรมทางการตลาดด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ของอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องไทย

Authors

  • ปุณยวีย์ สุขรุ่งเรืองสันติ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

Keywords:

นวัตกรรมทางการตลาด, การปรับทิศทางด้านกลยุทธ์ทางการตลาด, การปรับทิศทางด้านเทคโนโลยี, การบรรลุผลสำเร็จทางการตลาดของธุรกิจ, market innovation, strategic orientation, technology orientation, marketing performance

Abstract

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจข้อมูลทั่วไปของธุรกิจ รวมทั้งความคิดเห็นต่อการปรับทิศทางด้านกลยุทธ์ ทางการตลาดของธุรกิจ ด้านเป้าหมายในตลาดปัจจุบัน อนาคต และ เทคโนโลยีทางการตลาดของธุรกิจ รวมทั้งนวัตกรรม ทางการตลาดของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และการบรรลุผลสำเร็จทางการตลาดของธุรกิจ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุระหว่างการปรับทิศทางด้านกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีต่อนวัตกรรมทางการตลาดด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ของธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องไทย และความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการปรับทิศทางด้านกลยุทธ์ และนวัตกรรม ทางการตลาดที่มีต่อการบรรลุผลสำเร็จทางการตลาดของอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องไทย เพื่อนำเสนอการวิเคราะห์โมเดล ของความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีต่อการบรรลุผลสำเร็จทางการตลาด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม โดยเก็บ รวมรวบข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องไทยที่เป็นสมาชิกของสมาคมผู้ผลิตอาหาร สำเร็จรูป ในธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องไทย ประเภทอาหารทะเล ปลาทูน่ากระป๋อง ผัก ผลไม้กระป๋อง และผลไม้ แปรรูป ในปี พ.ศ.2551 จำนวน 585 ค่าสถิติที่ใช้ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และ การวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการอุตสาหกรรม อาหารกระป๋องไทยที่เป็นสมาชิกของสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปในปี พ.ศ.2551ส่วนใหญ่จะทำงานในตำแหน่งผู้จัดการ โดยมีขนาดกิจการอยู่ในระดับกลาง (คนงาน 51-200 คน และมีทุนจดทะเบียน 5-100 ล้านบาท ในส่วนความคิดเห็น ของธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องไทย มีการปรับทิศทางด้านกลยุทธ์ทางการตลาดโดยภาพรวมในระดับมาก ได้แก่ กลุ่มเป้าหมายในตลาดอนาคตของ กลุ่มเป้าหมายในตลาดปัจจุบัน ด้านเทคโนโลยีทางการตลาดธุรกิจตลอดจนมีนวัตกรรม ทางการตลาดอยู่ในระดับมาก โดยมีการบรรลุผลสำเร็จทางการตลาดของธุรกิจเท่านั้นที่อยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ การปรับทิศทางด้านกลยุทธ์ทางการตลาดมีอิทธิพลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุทางอ้อมต่อการบรรลุผลสำเร็จทางการตลาด แต่มีอิทธิพลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุทางตรงต่อนวัตกรรมทางการตลาด และนวัตกรรมทางการตลาดมีอิทธิพลเชิงสาเหตุโดยตรงต่อการบรรลุผลสำเร็จทางการตลาด นอกจากนี้การวิเคราะห์โมเดลหาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีต่อการบรรลุ ผลสำเร็จในธุรกิจของอุตสาหกรรมกระป๋องไทยที่พัฒนาขึ้นในรูปประหยัด มีความสามารถในการพยากรณ์ในระดับดีและ เป็นที่ยอมรับได้ เนื่องจากให้ค่าสหสัมพันธ์พหุคูณกำลังสอง (R2) เท่ากับ 49% ซึ่งมีค่าตั้งแต่ร้อยละ 40 ขึ้นไป

 

Market Innovation on New Product Development of Thai Canned Food Industry

This research studies two aspects of market innovation on new product development of Thai canned food industry. Data is analyzed for a causation relationship between strategic orientation and market innovation as well as for casual correlation between strategic orientation market innovation and marketing performance. The study involves a questionnaire-based survey of the members of the Thai Food Processors’ Association in 2008. A total of 585 usable questionnaires were received. These were subjected to path analysis, structural equation modeling (SEM) analysis and usage survey research statistics for analysis of percentage frequency distribution, arithmetic mean and standard deviation.

The results show that the majority of members are managers of medium-sized firms (51-200 employees) with registered assets of 5-100 million baht. These businesses had an arithmetic mean at a high level for strategic orientation. They have adjusted marketing strategy by focusing on future objectives with respect to the current market and adjusting the direction of marketing technologies accordingly. Marketing performance had arithmetic mean in middle level only. The SEM was performed using the maximum likelihood method to test the hypotheses. This permitted an assessment of the integrity measures as well as an evaluation of the degree to which the observed relationships among variables fitted with the hypothesized network of casual relationships. The hypothesized test reveals that the strategic orientation has no direct casual influence on marketing performance and the strategic orientation and market innovation have casual effect relationships on marketing performance in business. This model can be developed into a parsimonious model (R2= 49%).

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย