การคำนวณปริมาณสินค้าเผื่อสำหรับอุปสงค์ที่มีการแจกแจง
Keywords:
สินค้าเผื่อ, ระดับบริการลูกค้า, อุปสงค์ไม่คงที่, Safety stock, customer service level, uncertain demandAbstract
สินค้าเผื่อเป็นสินค้าที่สำรองไว้เพื่อตอบสนองความไม่แน่นอนของระบบ บทความนี้กล่าวถึงการคำนวณปริมาณ สินค้าเผื่อที่เหมาะสมในระบบที่อุปสงค์มีการแจกแจงรูปแบบต่างๆประกอบด้วย การแจกแจงแบบปกติ การแจกแจง แบบต่อเนื่องเอกรูป และการแจกแจงแบบปัวซง ทั้งนี้หลักการพื้นฐานในการคำนวณปริมาณสินค้าเผื่อสามารถจำแนกได้ เป็นสามขั้นตอน โดยขั้นตอนที่หนึ่งเป็นการคำนวณค่าความน่าจะเป็นในการเกิดสินค้าขาดมือที่ระดับบริการลูกค้าที่กำหนด จากนั้นจึงทำการกำหนดจุดสั่งซื้อที่ค่าความน่าจะเป็นของการเกิดสินค้าขาดมือเท่ากับความน่าจะเป็นในการเกิดสินค้า ขาดมือซึ่งกำหนดไว้ในขั้นตอนแรก การคำนวณในขั้นตอนที่สองนี้จะมีความแตกต่างกันตามลักษณะการแจกแจงของ อุปสงค์ระหว่างช่วงเวลานำ และขั้นตอนสุดท้ายเป็นการกำหนดปริมาณสินค้าเผื่อจากผลต่างของจุดสั่งซื้อที่คำนวณได้ ในขั้นตอนที่สองและค่าเฉลี่ยของอุปสงค์ระหว่างช่วงเวลานำ ทั้งนี้ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อความแม่นยำในการกำหนดปริมาณ สินค้าเผื่อคือความถูกต้องของการกำหนดลักษณะการแจกแจงของอุปสงค์ระหว่างช่วงเวลานำ
Determination of Safety Stock Inventory for Different Demand Patterns
Safety stock is materials reserved for the system uncertainties. This article mentions the determination of safety stock level in the system of uncertain demand. Various kinds of demand distribution such as normal, continuous uniform, and poisson, are discussed. In general, the procedure of safety stock determination can be divided into three steps. First, determine the probability of stock-out at the specified customer service level. The next step is to calculate the reorder point at the stock-out probability being determined from the first step. The calculation of this step is varied according to the lead time demand distribution. Finally, determine the proper safety stock level by subtracting the mean lead time demand to the reorder point. It can be clearly seen that the determination of demand distribution is an important factor having influences on the accuracy of safety stock calculation.