การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Authors

  • จันทรฉาย ยมสูงเนิน นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

Keywords:

องค์กรแห่งการเรียนรู้, ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, Learning organization

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัจจัยความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เปรียบเทียบความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้และปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้และวิเคราะห์ เพื่อหาชุดปัจจัยที่สามารถทำนายหรือพยากรณ์ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ประชากรคือ สถานศึกษาที่จัดการศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 31,821 แห่ง และสถานศึกษาที่ จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย จำนวน 581 แห่ง รวมประชากรทั้งสิ้น จำนวน 32,402 แห่ง สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบสัดส่วนได้สถานศึกษา 618 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และสมการการถดถอยทางพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะของบุคลากร โดยภาพรวมทุกตัวบ่งชี้มี ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก, ผู้บริหารและครูผู้สอนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นองค์การ แห่งการเรียนรู้แตกต่างกัน, ปัจจัยทุกตัวเกี่ยวข้องกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับ มากและมีความสัมพันธ์กับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในระดับสูง ยกเว้นบรรยากาศองค์การ พบว่า มีความสัมพันธ์ กันในระดับปานกลาง, ตัวแปรสามารถพยากรณ์ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การระบบเทคโนโลยีภายในองค์การ และโครงสร้างองค์การ

 

An Analysis of Factors Affecting Basic Education Institutions Becoming Learning Organizations

These research aims to analyze factors affecting basic education institutions “becoming learning organizations.” A sample of 618 teachers from schools was drawn from the population consisting of 31,821 basic education schools under the Ministry of Education and 581 schools under the Ministry of Interior. Questionnaires constructed by the researcher were used to collect data. Statistical techniques used to analyze data were arithmetic mean, standard deviation, t-test, F-test, Pearson’s Product Moment Coefficients’, and multiple regression. Findings shows that sample groups have high opinions on all the learning organizational factors. Teachers and executives have different opinions toward the concept of “being the learning organizations” of the schools. Regarding the learning organizational factors, they received high opinions and they are found related at high level of being the indicators toward “being the learning organization,” except the environmental factor of the schools which shows the relation at medium level. The best variables which can forecast the “being learning organization” of schools include leadership, organizational culture, technological system, and organizational structure.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย