การจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบไตรภาคี เพื่อลดพฤติกรรมผิดวินัยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา

Authors

  • อรทัย ฉัตรภูติ นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

Keywords:

นักเรียนมัธยม, การกระทำผิดวินัยของนักเรียน, ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน, secondary-level students, student’s caring and supporting, student’s indiscipline behavior

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยประเภทต่าง ๆ ที่มีต่อพฤติกรรมผิดวินัย ของนักเรียนมัธยมศึกษา (2) พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีประสิทธิภาพและ (3) ประสิทธิผลในการลด พฤติกรรมผิดวินัยของนักเรียนโดยอาศัยระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบไตรภาคีที่กำหนดขึ้น ช่วงแรกเป็นการวิจัย เชิงพรรณนาตามแนวคิดของ Lombroso และกฎกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2515 ว่าด้วยการแต่งกาย และ ความประพฤติของนักเรียนโดยใช้แบบสอบถามนักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่สามแห่ง จำนวน 400 คน ในช่วง เดือนสิงหาคม 2552 โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี Multiple Regression หลังจากนั้นนำผลมากำหนดขึ้นเป็นคู่มือ ตามระบบไตรภาคีดังกล่าว เพื่อนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ในช่วงภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ด้วยวิธีวิจัย แบบเชิงทดลองนำร่องแบบ ใช้การวิเคราะห์ Chi-Square และ Marascuilo ’s Test ในภาพรวม และวิเคราะห์ความแตกต่าง ของผลที่เกิดขึ้นระหว่างโรงเรียน ผลการวิจัย พบว่า (1) อิทธิพลของครอบครัว มีผลต่อ การขาดเรียนโดดเรียน และ การไว้ผมยาวผิดระเบียบของนักเรียน (2) อิทธิพลของโรงเรียนมีผลต่อ การขาดเรียนโดดเรียน การไว้ผมยาว ผิดระเบียบของนักเรียน แต่งกายผิดระเบียบ ใช้เครื่องสำอางเพื่อการเสริมสวย เที่ยวเร่ร่อนในที่สาธารณะ ขีดเขียน ทำลายสาธาณสมบัติ มั่วสุม ก่อความเดือดร้อน แสดงกิริยาวาจาไม่สุภาพ ดื่มสุรา เที่ยวสถานค้าประเวณี และ ประพฤติตน ในเชิงชู้สาว (3) อิทธิพลในการคบเพื่อน มีผลต่อการขาดเรียนโดดเรียน ไว้ผมยาวผิดระเบียบของทางโรงเรียน แต่งกาย ผิดระเบียบ แสดงกิริยาวาจาไม่สุภาพ และเที่ยวดิสโก้เธค ผับ บาร์ (4) ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ มีผลต่อการดื่มสุรา และ มีวัตถุระเบิด อาวุธติดตัว (5) สื่อสารมวลชน มีผลต่อการเที่ยวเตร่ในเวลากลางคืน ดื่มสุรา และ เที่ยวดิสโก้เธค ผับ บาร์ (6) อบายมุขต่าง ๆ มีผลต่อพฤติกรรมผิดวินัยทุกตัว ในส่วนของประสิทธิภาพของระบบการดูแลช่วยเหลือ นักเรียนที่ผู้วิจัยได้นำไปทดลองใช้ในช่วงหลังพบว่า จำนวนครั้งที่นักเรียนกระทำผิดวินัยก่อนกับหลังการนำระบบการดูแล ช่วยเหลือนักเรียนแบบไตรภาคีไปใช้ของทั้งสามโรงเรียน พบว่ามีพฤติกรรมผิดวินัย 14 ข้อที่ แตกต่างกันโดยที่หลังการใช้คู่มือจำนวนครั้งที่นักเรียนกระทำผิดวินัยน้อยกว่าก่อนนำคู่มือไปใช้ และโรงเรียนแต่ละแห่งมีสัดส่วนการลดลงที่ แตกต่างกันด้วย นั่นคือระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบไตรภาคีที่นำมาใช้มีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบเดิม

 

Tri-Lateral Approach of Caring and Supporting Systems for Decreasing Students’ Indisciplined Behaviors in the Secondary Schools

The objectives of this research were to study the relationships of factors affecting Indiscipline behaviors of secondary-level students, to develop the effective Systems of Caring and Supporting Students, and to verify the effectiveness of the reduction of Indiscipline behaviors of students by means of the proposed Tri-Lateral Approach of Caring and Supporting Systems. The first phase was a descriptive study following the approach of the Lombroso’s concept and the regulations of the Ministry of Education, Issue 1, B.E 2515 on the dressing and behavior of students (Nos. 1 and 2), by selecting 400 students in three large schools filled out the questionnaires. The statistical method employed was the Multiple Regression Analysis, the results were used to formulate a handbook as a treatment according to the mentioned Tri-Lateral Systems which was tested with the sample group in the second semester of the 2009 academic year. The Pre-Experimental Research method of the One Group, Pretest-Posttest Design was applied employing the Chi-Square Test of Goodness of Fit and the Chi-Square Test of Independence accompanied with the Marascuilo’s Test to analyze the data. The results showed that (1) family influence affected school absenteeism and students’ Indiscipline long hair, (2) school influence affected school absenteeism, students’ Indiscipline long hair, improper dressing, make-up use for beauty, wandering in public places, writing in and damaging public properties, improper gathering, trouble making, use of impolite words, alcoholic drinking, visiting brothels, and sexual behavior, (3) peer influence affected school absenteeism, students’ Indiscipline long hair, improper dressing, use of impolite words, and visiting discotheques, pubs and bars, (4) economic factors affected alcoholic drinking, explosives and weapons possession, (5) public media affected nighttime wanderings, alcoholic drinking, and visiting discotheques, pubs and bars, and (6) various vices affected all Indiscipline behaviors. As for the effectiveness of the Systems of Caring and Supporting Students, in the second phase, it was found that the number of students’ Indiscipline behaviors before and after applying the Systems of the three schools, 14 Indiscipline behaviors were significantly different at where after was less. Each school showed different proportions of reductions, thus, the Tri-Lateral Approach of Caring and Supporting Systems developed in the research was more effective than the original one.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย