รูปแบบการบริหารที่เน้นการกระจายอำนาจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
Keywords:
การบริหารการกระจายอำนาจ, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, Basic EducationAbstract
การวิจัยนี้ศึกษาการกระจายอำนาจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ของการบริหาร (2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและหัวหน้ากลุ่มงานต่อการกระจายอำนาจ (3) พัฒนารูปแบบ การบริหารที่เน้นการกระจายอำนาจ (4) ตรวจสอบรูปแบบการบริหารที่เน้นการกระจายอำนาจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ โรงเรียนประเภทที่ 1 รุ่นที่ 1 ที่เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 372 โรงเรียน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 193 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือรองผู้อำนวยการโรงเรียน และหัวหน้ากลุ่มงาน ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบริหารงาน บุคคล และ ด้านบริหารทั่วไป รวม 965 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม เพื่อนำผลที่ได้มาร่างรูปแบบการบริหารที่เน้นการกระจายอำนาจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมทั้งนำร่างรูปแบบ ไปตรวจสอบโดยทดลองใช้ในสถานศึกษา ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย (64%) มีอายุ การทำงาน (67%) ระหว่าง 6 - 10 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ( 87%) มีตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายงาน หรือกลุ่มงาน (35%) และพบว่า มีการมอบหมายภารกิจงานให้หัวหน้ากลุ่มงานและ/หรือทำร่วมกันระหว่างผู้บริหารกับสภาพของ การกระจายอำนาจด้านวิชาการ พบว่า อยู่ในระดับมาก หัวหน้ากลุ่มงานนอกจากนี้ยังเห็นว่ากระบวนการบริหารควร ประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์กร การนำองค์กร การควบคุม การประเมินผล การรายงาน และวิธีการปฏิบัติ เมื่อมีการกระจายอำนาจทางการบริหาร สำหรับรูปแบบการบริหารที่เน้นการกระจายอำนาจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีองค์ประกอบ 8 หลักการ มีกระบวนการบริหารสถานศึกษา จำนวน 6 ขั้นตอน ภารกิจงานบริหารสถานศึกษา จำนวน 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบริหารงานบุคคล และด้านบริหารทั่วไป
ผลการประเมินการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า ด้านวิชาการ มี ความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านงบประมาณ มี ความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านบริหารงานบุคคล มี ความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากทุกด้าน และด้านบริหารทั่วไป มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากทุกด้าน
The Model of Decentralization-oriented Administration in Basic Educational Institutions
This study aims to develop the model of decentralization administration in basic education. The population of this study were directors and administrators from 372 schools which were type 1 and first generation of secondary and high schools under basic education. 193 schools were drawn as a sample group. Respondents were 965 directors administrators. Research designs of this study were a structured questionnaire, in-depth interview, a group discussion, and a draft of the model of decentralization administration of schools under basic education. The drafted model was audited after launching in basic education institutions. The findings revealed that the current practices in schools under basic education followed guidelines of educational decentralization administration. Most respondents were male; they mostly were heads of the departments, and were in position for 6-10 years, holding bachelor degree. The administrators were found to have been given responsibilities or able to work together. Academic responsibilities were found to be decentralized at high level. Directors, head departments and administrators believed that administrative procedures for decentralization administration should consist of planning, organizing, leading, controlling, evaluating, and reporting. The model for decentralization administration contains 8 principles, 6 steps of managerial procedures, and 4 administrative missions -- academic, budget, human and general management. When the model was audited, it was found to have high level of accuracy, suitability, possibility, and usefulness as the model of decentralization administration for schools under basic education.