ความพึงพอใจของชุมชนต่อการให้บริการสาธารณะ ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

Authors

  • เยาวภา ปฐมศิริกุล อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • สุดาพร สาวม่วง ผู้อำนวยการหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

Keywords:

ความพึงพอใจของชุมชน, การให้บริการสาธารณะ, องค์การบริหารส่วนตำบล, Community Satisfaction, Public Services Provider, District Administration Organization

Abstract

การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจปัจจัยส่วนบุคคล การมีส่วนร่วมและระดับความพึงพอใจ ของประชาชนต่อการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารงานส่วนตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (2) เปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับความพึงพอใจ (3) วิเคราะห์การมีส่วนร่วมที่มีอิทธิพล ต่อระดับความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ ประชาชนหลักของตำบลคลองสาม จำนวน 694 คน สุ่มตัวอย่าง แบบเป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบสมมติฐานได้แก่ สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปร (MANOVA) และ สถิติวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (multiple regression) ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุมากกว่า 50 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษา นับถือศาสนาพุทธ มีอาชีพรับจ้าง รายได้ ต่อเดือน 7001-12,000 บาท อยู่อาศัยในพื้นที่มากกว่า 10 ปี กลุ่มตัวอย่างโดยภาพรวมมีส่วนร่วมต่อการให้บริการ สาธารณะฯในระดับน้อย เพียง 3 - 4 ครั้งต่อปี ความพึงพอใจเฉลี่ยต่อโครงการบริการสาธารณะฯ มีระดับปานกลาง ส่วนความพึงพอใจด้านความสะดวกที่ได้รับพอใจมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ความพึงพอใจด้านการบริการของเจ้าหน้าที่ คุณภาพการบริการ ระยะเวลาในการดำเนินงาน และข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ ตามลำดับ (2) เพศและการศึกษาที่แตกต่างกัน ทำให้ความพึงพอใจฯ แตกต่างกัน (3) การมีส่วนร่วมด้านการรับรู้ข้อมูล และการประเมินกิจกรรมมีอิทธิพลต่อความ พึงพอใจของประชาชน

 

Community Satisfaction toward Public Services Provider of Khlong Sam Administration Organization in Sub-district Khlong Luang Pathum Thani Province

This research aims to (1) survey the personal factors, participation and levels of people satisfaction towards public services provider of Khlong Sam Administration Organization in sub-district Khlong Luang Pathum-thani province. (2) compare the differences of the personal factors affecting people’s satisfaction level. (3) analyze the effect of participation on the people’s satisfaction. This research was conducted through a survey, testing 694 samples using systematic random sampling techniques. The data were collected by questionnaire, depth interview and focus group. The statistics used in the research were the descriptive statistic analysis and MANOVA, Multiple regression were used to test the hypotheses. The findings were: (1) the personal factors of the samples were mainly females, aged over 50 years old, who had a primary school level of education, were Buddhist, selfemployed, with an average monthly salary of 7,001-12,000 baht, and who had lived in a community residence for over 10 years. The sample group had participated in public services at the low level (3-4 times/year). The people had a medium level of satisfaction for public services and had the highest satisfaction on the convenience gained. The next lower satisfaction was the services provided by officer, the quality of services, the length of time spent, the information received from the services. (2) the difference in gender and education level affected the difference in people’s satisfaction. (3) the people’s participation in information received and project evaluation affected the level of satisfaction towards Public Services Provider.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย