กลยุทธ์การพัฒนาวัฒนธรรมองค์การ เพื่อส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้

Authors

  • Shureeporn kreagsong

Keywords:

ชุมชนแห่งการเรียนรู้, การพัฒนาวัฒนธรรมองค์การ, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้และวัฒนธรรมองค์การในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (2) ศึกษาปัจจัยวัฒนธรรมองค์การเพื่อส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และ (3) กำหนดกลยุทธ์การพัฒนาวัฒนธรรมองค์การเพื่อส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น วิธีดำเนินการวิจัย โดยการวิเคราะห์เอกสาร หลักการ แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษา การใช้แบบสอบถามความคิดเห็นผู้บริหาร ครูและบุคลากรสนับสนุน และการสนทนากลุ่ม (focus group) ผลการวิจัยพบว่า (1) การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ ซึ่งมีอยู่ 5 ด้าน และวัฒนธรรมองค์การในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีจำนวน 8 ด้าน
(2) ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การเพื่อส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ มีจำนวน 8 ด้าน และปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่มีอิทธิผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ฯ มีจำนวน 5 ด้าน และ (3) กลยุทธ์การพัฒนาวัฒนธรรมองค์การเพื่อส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ มีจำนวน 5 ด้าน

References

กรรณิการ์ อินทราย. (2553). รูปแบบการบริหารเพื่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในสถานศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

สาขาการบริหารการศึกษาและผู้นำการเปลี่ยนแปลง บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.

ครรชิต พุทธโกษา. (2554). คู่มือการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

มิชิตา จำปาเทศ รอดสุทธิ. (2551). มากกว่าเงินตรา. กรุงเทพฯ: สถาบันจิตวิทยา.

บุญส่ง หาญพานิชย์. (2546). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาการอุดมศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันชัย มีชาติ. (2551). พฤติกรรมการบริหารองค์การสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2542). วาระการวิจัยแห่งชาติในภาวะวิกฤตเพื่อฟื้นฟูชาติ. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2548). ภาวะผู้นำทฤษฎี และปฏิบัติ: ศาสตร์ และศิลป์สู่ความเป็นผู้นำที่สมบูรณ์ (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: วิรัตน์ เอ็คดูเคชั่น.

สุนทร โคตรบรรเทา. (2551). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาชน.

สุมน คณานิตย์. (2552). รูปแบบการวางแผนกลยุทธ์ด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษาและผู้นำการเปลี่ยนแปลง. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

Best, J. W. (1981). Research in education. Boston: Allyn and Bacon.

Boyd, V. (1992). School context. bridge or barrier to change. Texas : Southwest Educational Development Laboratory.

Darling, H. L. (1998). Teachers and teaching: Testing policy hypotheses from a national commission report. Educational Researcher.

Deal, T. E. & Peterson, K. D. (1990). The Principal’s Role in Shaping School Culture. Washington D.C. : Office of educational research and improvement.

Goodchild, S. & Holly, P. (1989). Management for change: The garth hill Experience. London: The Folmer Press.

Hord, S. M. (1997). Professional learning communities: Communities of continuous inquiry and improvement.

Austin : Southwest Educational Development Laboratory.

Kotter, J. P. & Cohen, D. S. (2002). The heart of change. Boston: Harvard Business School Press.

Leithwood, K. et al. (1999). Changing leadership for changing times. New Jersey: Allyn and Bacon.

Louis, K. S. & Kruse, S. D. (1995). Professionalism and community: Perspectives on reforming urban schools. California: Corwin.

Luthans, F. (2002). Organizational behavior (9th ed.). New York: McGraw-Hill.

Marquardt, M. J. (1996). Building the learning organization. New York: McGraw Hill.

Marquardt, M. J. & Reynolds, A. (1994). The global learning organization. New York: Irwin.

Patterson, J. L., Purkey, S. C. & Parker, J. V. (1986). Guiding beliefs of our school district,” Productive school systems for nonrational world. Arlingtion, Va: Association for Supervision and Curriculum Development.

Robbins, S. P. (1989). Organizational behavior: Concepts controversies and applications (4th ed) . Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall.

Schein, E. H. (1983). The role of the founder in creating organizational culture. Organizational Dynamics,

(1), 13-28.

Downloads

Published

2015-11-24

Issue

Section

บทความวิจัย