รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
Keywords:
กระบวนการเรียนรู้, การคิดสร้างสรรค์, สถานศึกษาขั้นพื้นฐานAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) พัฒนารูปแบบการจัดกระบวน การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและ (3) ประเมินรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากรได้แก่ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษา ภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 3,891 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 35,019 คน กำหนด กลุ่มตัวอย่างใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan ได้ตัวอย่าง จำนวน 346 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 380 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็น แบบแบ่งชั้น สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพและปัญหาการจัดกระบวนการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก ปัญหาการจัดกระบวนการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด สภาพบทบาทของผู้บริหารในการขับเคลื่อนการคิดสู่ห้องเรียน อยู่ในระดับมาก และองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด (2) การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย ปัจจัยด้านกระบวนการจัดการภายในสถานศึกษา และปัจจัยแห่งความสำเร็จ (3) การประเมินรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
References
กุลวดี บัวโชติ. (2547). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเอกชน
ในพระราชสำนัก. วิทยานพนธ์ปริญญาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา,
มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
คณะกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2543). การปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียน
เป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
คณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2548). การปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ:
คุรุสภาลาดพร้าว.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2549). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ:
องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
พัชราภรณ์ พิมละมาศ. (2544). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ตามแนวคิด 4 MAT ที่มี
ต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1.
วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พูลสุข หิงคานนท์. (2540). การพัฒนารูปแบบการจัดองค์การของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาบริหารการศึกษา, จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.
ปรียาภรณ์ วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). การบริหารวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือส่งเสริมกรุงเทพฯ.
วลัยพร แสงนภาบวร. (2549) . เอกสารประกอบการสัมมนาภาวะผู้นำของผู้บริหาร (วันที่ 10 พฤษภาคม 2549).
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.
สมาน อัศวภูมิ. (2545). การพัฒนารูปแบบการบริหารประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาบริหาร
การศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิก จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2545-2559). กรุงเทพฯ: บริษัท
พริกหวานกราฟฟิก.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน). (2549). การสังเคราะห์ผลการประเมิน
คุณภาพภายนอกสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบแรก พ.ศ.2554-2558. ค้นเมื่อ 8 ธันวาคม
, จาก http://www.pqa.co.th/file/sloop_first.pdf
สุทธิศักดิ์ เฟื่องเกษม. (2555). รูปแบบการบริหารวิชาการโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศละการสื่อสารเพื่อ
ส่งเสริมการปฏิรูปการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย,
(2), 149-161.
อารี พันธ์มณี. (2543). ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับการเรียนรู้. กรุงเทพ: ต้นอ้อแกรมมี่.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2546). การบริหารจัดการโดยใชโรงเรียนเป็นฐาน School Based Management. กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุทุมพร จามรมาน. (2545). โมเดล. วารสารวิชาการ 1, (3 (มีนาคม 2545), 22-25.
Bardo, J. W. & Hartman, J. J. (1982). Urban Society: A systematic introduction. U.S.A.: F.E.Peacock.
Guilford, J. P. (1967). The nature of human intelligence. McGraw-Hill: Book Company.
Keeves, J. P. (1988). Models and model building, educational research, methodology, and measurement:
an international handbook. U.K: Pergamon Press.
Lipman, M. (2003). Thinking in education (2thed). New York: Cambridge University Press.
Tosi, H. L., & Carroll, S. J. (1982). Management. New York: John Wiley & Sons.