ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม

Authors

  • Puvanat numark

Keywords:

ประสิทธิผลการจัดการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา (2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา และ (3) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของการจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่  ผู้บริหาร ครูผู้สอนและกรรมการสถานศึกษา จำนวน 193  รูป/คน  ได้จากการคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ทฤษฏีลิมิตกลาง และเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีสุ่มแบบชั้นภูมิ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  เป็น แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ  0.992  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยด้านนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ  และปัจจัยด้านยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาตามแนวทางดัชนีสมดุลทั้ง 4 มุมมอง มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน (2) ปัจจัยทุกตัว มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิผลของการจัดการศึกษาในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา (3) สมการพยากรณ์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลของการจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ได้ดังนี้  (1)(คณิตศาสตร์)  = 26.420 + 0.484 (ปัจจัยด้านกระบวนการภายใน) - 0.347 (ปัจจัยด้านประสิทธิผลองค์การ ) (2) (ภาษาไทย) =33.849 + 0.372 (ปัจจัยด้านนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ) (3) (ภาษาอังกฤษ)   =  19.047 + 0.540 (ปัจจัยด้านกระบวนการภายใน ) (4) (สมศ.)  =  1.630 + 0.257 (ปัจจัยด้านกระบวนการภายใน) (5)  (คุณลักษณะ)  =  0.111 + 0.520 (ปัจจัยด้านการเรียนรู้และพัฒนา ) + 0.219 (ปัจจัยด้านผู้เรียนและมีผู้ส่วนเกี่ยวข้อง) + 0.170 (ปัจจัยด้านประสิทธิผลองค์การ)

References

กฤษณี มหาวิรุฬห์. (2547). แนวคิดการบริหารแบบ Balanced Scorecard. ค้นจากwww.geocities.com/vichakarn2002/scorcard.doc

กองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2553) .แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ การพัฒนาการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ( พ.ศ. 2553 – 2562 ).

ญาณิศา บุญจิตร์. (2553). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การ ของสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษา. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทรพร อุตพันธ์. (2551). แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาโรงเรียนพระปริยัติธรรม ในภาคใต้.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐิกานต์ รักนาค, อัมพร ม้าคนอง และอลิศรา ชูชาติ. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน

ตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เนาวเรศ น้อยพานิช. (2552). รูปแบบการจัดการองค์กรเครือข่ายการจัดการศึกษานอกระบบในชุมชน.

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 3(2), 126-127.

เพ็ญแข ดวงขวัญ. (2548). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน ของนักศึกษานอก

โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกรุงเทพมหานคร. ปริญญาครุศาสตรมหา

บัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิกุล เอกวรางกูร. (2551). การวิจัยและพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้แบบบูรณาการระดับ

ประถมศึกษา. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพันธ์ นิมะวัลย์. (2554). การประยุกต์ใช้ ดัชนีสมดุล เพื่อพัฒนาการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ดุษฏีนิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Kaplan, R. & Norton, D. (1996). The balanced scorecard: Translating strategy into action. Boston: Harvard Business School Press.

Downloads

Published

2015-04-30

Issue

Section

บทความวิจัย