ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารการศึกษาโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน
Keywords:
การบริหารการศึกษา, โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน, ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารการศึกษา (2) ประสิทธิผลของการบริหารการศึกษาโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน (3) แนวทางการบริหารการศึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิผลโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยจำนวน 285 โรงเรียนจากโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน สุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารการศึกษาโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนเป็นปัจจัยด้านผู้บริหารโรงเรียน มีภาวะผู้นำในระดับมากที่สุดคือ การไม่ชอบการเอารัดเอาเปรียบกันในการทำงาน และ ผู้ร่วมงานสามารถเข้าพบเพื่อให้ข้อคิดเห็นโดยง่ายและสะดวก ปัจจัยความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ ปฏิบัติงานในระดับมากที่สุด คือ การจัดทำแผนงาน/โครงการที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจของโรงเรียน และการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน และปัจจัยด้านแรงจูงใจ คือ การให้เวลาในการรับฟังปัญหาของผู้ร่วมงานและแสดงความเข้าใจมีความสำคัญมากต่อการทำงานร่วมกัน และการรู้สึกว่าโรงเรียน เป็นสถานที่น่าทำงาน (2) ประสิทธิผลของการบริหารการศึกษาโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน ทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก ( 3) แนวทางการบริหารการศึกษาเพื่อประสิทธิผลโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนพบว่า ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ ปัจจัยด้านความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ และปัจจัยด้านแรงจูงใจ ปัจจัยทั้งสามส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
References
ดวงสมร กลิ่นเจริญ. (2545).ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารอาชีวศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2544). แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปและส่งเสริมการศึกษาเอกชน.
กรุงเทพฯ: การศาสนา.
อัญชิสา เอี่ยมละออ. (2554). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารโรงเรียนเอกชน สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสิงห์บุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นนเอเชีย, 5(1), 105-115.
Bass, B. M. (1985). Leadership and Performance beyond Expectations. New York: The Free Press.
Bass, B. M. & Avolio, B .J. (1990). The Implications of Transactional and TranformationalLeadership
for Individual, Team, and Organizational Development. Research.
Kouzes, J. M. & Posner, B. Z. (1995). The Learning Challenge: How to Get Extraordinary Things Done
in Organization. San Francisco: Jossey-Bass .
McClelland, D. C. (1987). Human Motivation. Cambridge: Cambridge University Press.
Samuel, A. G. (2003). Lexical activation (and other factors) can mediate compensation for
coarticulation. Journal of Memory and Language, 48.