การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบพิซ่าเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน
Keywords:
การประเมิน, โรงเรียนชุมชนวัดเสด็จAbstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการบริหารการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีปัญหาการอ่านของโรงเรียนชุมชนวัดเสด็จฯโดยใช้กระบวนการ PISA (2) ศึกษาคุณภาพของการบริหารการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีปัญหาการอ่านของโรงเรียนชุมชนวัดเสด็จฯ โดยใช้กระบวนการ PISA และ(3) ศึกษาผลของการบริหารการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีปัญหาการอ่านของโรงเรียนชุมชนวัดเสด็จฯ โดยใช้กระบวนการ PISA การเก็บข้อมูลตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการบริหารการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีปัญหาการอ่านของโรงเรียนชุมชนวัดเสด็จฯฯโดยใช้กระบวนการ PISA ตอนที่ 2การศึกษาคุณภาพของการบริหารการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีปัญหาการอ่านของโรงเรียนชุมชนวัดเสด็จฯฯโดยใช้กระบวนการ PISA ตอนที่ 3 การศึกษาผลของการบริหารการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีปัญหาการอ่านของโรงเรียนชุมชนวัดเสด็จฯฯโดยใช้กระบวนการPISAวิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้ IOC หาค่าดัชนีความสอดคล้อง สัมประสิทธิ์แอลฟา หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านโดยใช้ จากสูตร Wilcoxon Matched Pairs Signed – Ranks ที่ระดับความสำคัญ .05 ผลจากการศึกษาผลสำเร็จที่เกิดกับเด็กที่มีปัญหาการอ่านของโรงเรียนชุมชนวัดเสด็จฯปีการศึกษา 2553 - 2555 นวน 12 คน พบว่าเด็กที่มีปัญหาการอ่านมีผลสัมฤทธิ์ทางด้าน การอ่านสูงขึ้น ศึกษาได้จากผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของเด็กที่มีปัญหาการอ่านโดยใช้กระบวนการบริหารการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีปัญหาการอ่านโดยใช้กระบวนการ PISA ปีการศึกษา 2553-2555 นั้น พบว่า หลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
References
กรมสามัญศึกษา. (2544). ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดกรมสามัญศึกษา. กรุงเทพฯ: กรมศาสนา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. (พิมพ์ครั้งที่ 3).
กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กฤษณา คิดดี. (2547). การพัฒนารูปแบบการประเมินการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฏีบัณฑิ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชญาฉัตร รู้สมกาย. (2552). การพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่าน โรงเรียนพระบุบ้านหันราษฎร์ประสาท อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ,มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ดารกา ต้นครองจันทร์. (2545). ทำอย่างไรให้เด็กไทยรักการอ่าน. กรุงเทพฯ: วิชาการ.
ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิตินัย คำจันทร์. (2553). การพัฒนาการดำเนินงานส่งเสริมนิสัยการอ่านของนักเรียนโรงเรียนเหล่าหลวงประชานุสรณ์อำเภอเกษตรวิสัยจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นิภา ศรีไพโรจน์. (2533). สถิตินอนพาราเมตริก. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอ เอสพริ้นติ้งเฮ้าส์.
นิภาพรรณ ศรีพงษ์. (2548). ทักษะการใช้ภาษา. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานนครราชสีมา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543 ). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญช่วย สายราม. (2552). การพัฒนาการดำเนินงานการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน
โรงเรียนบ้านหนองทัพอำเภอน้ำยืนจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญส่ง เสาศิริ. (2547). การประเมินโครงการการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการอ่านการเขียนนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 กลุ่มวังหิน 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
ประเวศ วะสี. (2541). การปฏิรูปการศึกษายกเครื่องทางปัญญาสมองจากความหายนะ. กรุงเทพฯ :
มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
ปราณี นาถมทอง. (2548). การส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโดยการเล่านิทาน สำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ขวบ บ้านโคกประสิทธิ์ กิ่งอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
โรงเรียนชุมชนวัดเสด็จฯ. (2553). รายงานพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2552. พระนครศรีอยุธยา: โรงเรียนฯ.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2542 ). การบริหาร หลักการ ทฤษฎีและประเด็นทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ทิพย์วิสุทธิ์.
สนิท สัตโยมภาส. (2545). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและสืบค้น. กรุงเทพฯ : 21 เซ็นจูรี.
สุทธิวรรณตันติรจนาวงศ์. (2546). การระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษา: ประมวลสาระชุดวิชาการจัดการสถานศึกษา. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2545). หลักและวิธีการสอนอ่านภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนาพานิช.
สุภาภรณ์ ยุคุณธร. (2547). การศึกษากระบวนการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน:ศึกษากรณีโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภูเก็ต. วิทยานิพน์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต.
สุรพล พุฒคำ. (2546). การบริหาร. กรุงเทพฯ: ชาญวิทย์เซ็นเตอร์.
อิงฟ้า ประยูรสุข. (2551). กระบวนการบริหารการเรียนการสอนตามความคิดเห็นของข้าราชการครูโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัยเขตสาทรกรุงเทพมหานครสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
อุกฤษฎ์ บุษบงค์. (2553). การจัดการเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ ในการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชน อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.