การนำสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ไปเป็นหลักประกันการชำระหนี้
Keywords:
การเช่าอสังหาริมทรัพย์, หลักประกันการชำระหนี้Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงบทบัญญัติของพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ.2542 ว่ามีปัญหาในการบังคับใช้อย่างไรบ้าง เพื่อแสวงหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการดำเนินการวิจัยในลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งใช้วิธีการวิจัยเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ โดยใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) จากเอกสาร รายงานบทความ บทวิเคราะห์ทั้งจากสื่อมวลชน รายงานวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ กฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง สื่ออิเล็กทรอนิคส์ และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูลในการตีความในลักษณะวิเคราะห์ตามหลักเหตุผล ผลการวิจัยพบว่า เนื้อหาสาระของพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542 มีปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาหรืออายุของสัญญาเช่า ความคล่องตัวในการโอนเปลี่ยนมือ การบังคับหลักประกัน เป็นต้น ดังนั้น จึงควรปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมพ.ศ....ให้บังคับใช้ได้อย่างเป็นธรรม และสอดคล้องกับธุรกิจที่สำคัญของประเทศต่อไป
References
กฤษฎา นารินทร์รักษ์. (2543). ปัญหาการนำสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ระยะยาวมาประกันหนี้. วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปกรณ์ นิลประพันธ์.(2557). แนวความคิดใหม่ในการนำทรัพย์สินมาเป็นประกันการชำระหนี้. ค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2557. จาก http://www.scribd.com/doc/159888270.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. (2468). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๔๒/-/หน้า ๑/๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๖๘. ค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2557. จาก http://web.krisdika.go.th/data/law/law4/%bb03/%bb03-20-9999-update.pdf .
พระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม. (2542). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๓๙ ก/หน้า ๑๐/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๒. ค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2557. จาก http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%a195/%a195-20-2542-a0001.pdf.