ความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติธรรมเนกขัมมบารมีวัดปัญญานันทาราม

Authors

  • Pramahasuriyan boonyod

Keywords:

ความพึงพอใจ, ผู้ปฏิบัติธรรม, เนกขัมมบารมี

Abstract

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจในหลักธรรม (ศีล สมาธิ ปัญญา) และวิปัสสนากรรมฐานของผู้ปฏิบัติธรรมเนกขัมมบารมี วัดปัญญานันทาราม (2) เพื่อศึกษาความสามารถในการนำความรู้ ความเข้าใจ ในหลักธรรม (ศีล สมาธิ ปัญญา) และวิปัสสนากรรมฐานไปใช้ในชีวิตประจำวันของผู้ปฏิบัติธรรมเนกขัมมบารมี  วัดปัญญานันทาราม (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติธรรมเนกขัมมบารมี ณ วัดปัญญานันทาราม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ปฏิบัติธรรมเนกขัมมบารมี ณ วัดปัญญา นันทาราม จำนวน 284 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 แบบคือ (1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อศึกษาพุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษพิสัยของผู้ปฏิบัติธรรมเนกขัมมบารมี (2) แบบสอบถามเพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจ และความสามารถในการนำหลักธรรม(ศีล สมาธิ ปัญญา)และวิปัสสนากรรมฐานไปใช้ในชีวิตประจำวัน และศึกษาความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติธรรมเนกขัมมบารมี  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ่  ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ผู้ปฏิบัติธรรมเนกขัมมบารมี มีความรู้ ความเข้าใจ ในหลักธรรมและวิปัสสนากรรมฐานอยู่ในระดับที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  ผู้ปฏิบัติธรรมเนกขัมมบารมี เพศหญิงมีระดับความรู้ความเข้าใจในหลักธรรม (ศีล สมาธิ ปัญญา)และวิปัสสนากรรมฐาน มากกว่าเพศชาย ผู้ปฏิบัติธรรมเนกขัมมบารมี มีความสามารถในการนำความรู้ความเข้าใจในหลักธรรม (ศีล สมาธิ ปัญญา)และวิปัสสนากรรมฐานไปใช้ในชีวิตประจำวัน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผู้ปฏิบัติธรรมเนกขัมมบารมีมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 

References

กชปณฏ สุทธปัญญากุล. (2541). ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตนตามหลักไตรสิกขา(ศีล สมาธิ และปัญญา) กับ

พฤติกรรมการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวังชัยภูมิ.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ญาณภัทร ยอดแก้ว. (2551). การพัฒนาโครงการปฏิบัติธรรมเนื่องในวันสำคัญ กรณีศึกษาวัดเอก อำเภอกระแสสินธุ์

จังหวัดสงขลา.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปะศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2546). สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์

บุญชม ศรีสะอาด. (2538).วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย 2. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม (พิมพ์ครั้งที่11). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์มหาจุฬา

ลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2557). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 28).

กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาขุนทอง อคฺควโร (สนนำพา). (2554). ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการสภาพแวดล้อม ในโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, โดยมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอาทิตย์ ยานันท์. (2552). การพัฒนาอุบาสกอุบาสิกาตามแนวพุทธวิธี: ศึกษาผลสัมฤทธิ์โครงการเพิ่มโอกาสบวช เนกขัมมบารมี ของวัดปัญญานันทาราม ตำบลคลองหก. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย.

พระอุเทน อุเทโน. (2554). ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอพนม ทวน จังหวัดกาญจนบุรี. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2530). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร

วิโรฒ.

สวดมนต์แปลไทยฉบับนักเรียน. (2550). (พิมพ์ครั้งที่ 2). เอส.อาร์.พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.

วราภรณ์ กัณหสิริ. (2545). ความพึงพอใจในการให้บริการด้านข้อมูลข่าวสารของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย

ศึกษาเฉพาะกรณี เคาเตอร์ประชาสัมพันธ์ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

สุวัฒนา ใบเจริญ. (2540). ความพึงพอใจของลูกค้าต่อการให้บริการของธนาคารออมสิน สาขาขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Downloads

Published

2015-04-30

Issue

Section

บทความวิจัย