ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้อำนาจกับการบริหารความขัดแย้ง

Authors

  • Tiparpar wilai

Keywords:

พฤติกรรมของการใช้อำนาจของผู้บริหาร, การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาf(1)/ระดับพฤติกรรมการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา ( 2)/ระดับการบริหารความขัดแย้งของสถานศึกษา  (3)/ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้อำนาจกับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอบ้านนา  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่  ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในอำเภอบ้านนา ปีการศึกษาf2556fจำนวนf175fคนfเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตรวัดประเมินค่าf5fระดับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) พฤติกรรมการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอบ้านนา โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก  (=4.37)  (2) การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอบ้านนา โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก(=4.29)  (3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้อำนาจกับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอบ้านนา ในภาพรวมคู่ที่มีความสัมพันธ์กันสูงสุด คือพฤติกรรมการใช้อำนาจของผู้บริหารกับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการประนีประนอม  (r=0.563)  และการบริหารความขัดแย้งพฤติกรรมการใช้อำนาจของผู้บริหารด้านการควบคุมสภาพแวดล้อม (r=0.533)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าพฤติกรรมการใช้อำนาจการบังคับกับการบริหารความขัดแย้งด้านการประนีประนอม เป็นคู่ที่มีความสัมพันธ์กันสูงสุด (r=0.566) คู่ที่มี รองลงมา พฤติกรรมการใช้อำนาจของผู้บริหารด้านการควบคุมสภาพแวดล้อม กับการบริหารความขัดแย้งด้านการประนีประนอม  (r=0.61) และพบว่าพฤติกรรมการใช้อำนาจด้านเชี่ยวชาญและด้านอำนาจตามกฎหมายกับการบริหารความขัดแย้งด้านการยอมให้เป็นคู่ที่มีความสัมพันธ์ต่ำสุด  (r=0.261)

References

กุลธิดา ค้อโนนแดง. (2546). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546).คู่มือการบริหารสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและ

วัสดุภัณฑ์..( 2545).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2)

พ.ศ. (2545).กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กษิภณ ชินวงศ์. (2550). การใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี

เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. 2553. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: เทพเนรมิตการพิมพ์.

ธีระ รุญเจริญ. (2545). สภาพและปัญหาการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา

ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร.(2549). การวิจัยเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษา. สกลนคร: สมศักดิ์การพิมพ์.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2540). ความขัดแย้ง การบริหารเพื่อความสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: ต้นอ้อแกรมมี่.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2546). ความขัดแย้ง การบริหารเพื่อความสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร.

อาคม วัดไธสง. (2547). หน้าที่ของผู้นำในการบริหารการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 2).สงขลา: กลุ่มงานการบริหารการศึกษา

มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Hoover, D. R. (1990). Relationships among perceptions of principles’ conflict management

behaviors, levels of conflict and organization climate in high schools. Doctoral Dissertation, The Pennsylvania State University.

Kshensky, M. (1990). Principle power and school effectiveness: A study of urban public middle

schools. Dissertation Abstracts International.

Yukl, G. (2006). Leadership in Organizations (6th ed.). Engwood Cliffs, N. J.: Pearson Prentice Hall.

Downloads

Published

2015-04-30

Issue

Section

บทความวิจัย