การพัฒนาเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์สู่ความเป็นมืออาชีพ

Authors

  • Nattanan rattanajaroen

Keywords:

เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์, การพัฒนาบุคลากร, ความเป็นมืออาชีพ

Abstract

การวิจัยนี้  เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา  (1)  สภาพปัญหาอุปสรรคในการสร้างความเป็นมืออาชีพให้กับเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์  (2)  คุณสมบัติที่สำคัญของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ที่มีความเป็นมืออาชีพและแนวทางในการสร้างเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์มืออาชีพ  (3)  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการพัฒนาเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์สู่ความเป็นมืออาชีพ  และ  (4)  เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์สู่ความเป็นมืออาชีพ  ซึ่งการวิจัยเชิงคุณภาพ  ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานประสบการณ์ในเชิงวิชาการและการปฏิบัติรวม 24  คน  และการวิจัยเชิงปริมาณ  ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ทั่วประเทศจำนวน  383  คน  โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ  หาค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน  ผลการวิจัยพบว่า  (1)  ปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายขาดความต่อเนื่องและปัญหาในกระบวนการสรรหาบุคลากร  (2)  เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ซึ่งมีความเป็นมืออาชีพ  ต้องมีทักษะเฉพาะในหลากหลายด้าน  (3) ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัยพบว่า  นโยบายผู้บริหาร  ยุทธศาสตร์ตามแผนปฏิบัติการกรมราชทัณฑ์  และกระบวนการสรรหาคัดเลือกบุคลากรในแต่ละสายงาน  มีความสัมพันธ์กับกระบวนการสร้างรูปแบบการพัฒนาเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์สู่ความเป็นมืออาชีพ  (ทั้งในด้านการกำหนดคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์มืออาชีพ  และด้านการฝึกอบรมทักษะที่จำเป็นในงานราชทัณฑ์)  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  และ  (4)  รูปแบบการพัฒนาเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์สู่ความเป็นมืออาชีพควรจัดทำเป็นแผนระยะสั้นช่วงเวลา 3  ปี  และแผนงานระยะยาวคือ  การสร้างโรงเรียนราชทัณฑ์  เช่นเดียวกับโรงเรียนนายร้อยตำรวจหรือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

References

กมลมาลย์ ชาวเนื้อดี. (2545). องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับความเป็นครูมืออาชีพ ระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. ครุศาสตร์ (การวัดและประเมินผลการศึกษา), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิตติภัช กนกธาดาสกุล. (2546). การศึกษาลักษณะผู้บริหารมืออาชีพ ตามทัศนะของผู้บริหารและครูในโรงเรียนเครือข่ายการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.

คมเดช จันทร์แสงสว่าง. (2543). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ในเขตอิสระ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, สังคมศาสตร์ (อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม), มหาวิทยาลัยมหิดล.

จักรีชัย คูณวงษ์. (2547). ความต้องการฝึกอบรมของข้าราชการชายในกลุ่มเรือนจำและทัณฑสถานลาดยาว.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, ศิลปศาสตร์ (รัฐศาสตร์), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ตฤตณัย นพคุณ. (2541). ความเป็นมืออาชีพของนักข่าวโทรทัศน์ไทย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์(การสื่อสารมวลชน), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทวีรัตน์ นาคเนียม. (2532). เรือนจำ : สถาบันเพื่อการแก้ไขผู้กระทำผิด กรณีศึกษา เรือนจำจังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิทวัส ฤทธิ์รักษา. (2548). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการพัฒนาผู้บริหารศาลในศาลยุติธรรม. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.

สมเกียรติ แก้วมณี. (2548). การศึกษาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของผู้บริหารการศึกษามืออาชีพตามความคิดเห็นของครูและผู้บริหาร สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

สินีพร กระโจมทอง. (2545). ทัศนคติของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ที่มีต่อมาตรฐานการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง : กรณีศึกษาเรือนจำกลางเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อายุตม์ สินธพพันธ์. (2545). ตัวแบบเรือนจำที่เหมาะสมในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม, มหาวิทยาลัยมหิดล.

Hogan, N., Lambert, E. & Griffin, M. L. (2013). Loyalty, love and investments: The impact of job outcomes on the organizational commitment of correctional staff. Criminal Justice & Behavior, 40(4), 355-375.

Johnson, R. & Price,S. (1981, September).The complete correctional officer humanservice and the humanenvironment of prison, Criminaljustice and behavior, 8(3), 343-373.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities, Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Lambert, E. G. et al. (2012). Examining the relationship between supervisor and management trust and job burnout among correctional staff, Criminal Justice and Behavior, 39(7), 938-957.

Smith, R. R. Milan, M. A., Wood, L. F.& McKee, J. M. (1976).The correctional officer as a behavioral technician,Criminal Justice and Behavior,3(4), 345-360.

Downloads

Published

2015-12-17

Issue

Section

บทความวิจัย