รูปแบบการจัดการศึกษาอย่างมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน
Keywords:
การจัดการศึกษาอย่างมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษา, ผู้เรียนประถมศึกษา, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือAbstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการจัดการศึกษาอย่างมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนประถมศึกษา (2) พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาอย่างมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนประถมศึกษา และ (3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการศึกษาอย่างมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนประถมศึกษา ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาประถมศึกษา จำนวน 375 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ (frequency) และร้อยละ (percentage) ผลการวิจัย พบว่า สภาพการจัดการศึกษาอย่างมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน ด้านปัจจัยนำเข้า การเรียนรู้และการพัฒนา กระบวนการ และการวัดผลประเมินผล อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาอย่างมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย 9 ปัจจัยหลัก ได้แก่ (1) รูปแบบของการมีส่วนร่วม (2) ขั้นตอนของการมีส่วนร่วม (3) องค์ประกอบของการบริหาร (4) โครงสร้างการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (5) การบริหารโดยใช้วงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (6) การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ (7) การส่งเสริมคุณภาพผู้เรียน (8) เงื่อนไข และ (9) แนวทางการบริหารเชิงระบบ การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการศึกษาอย่างมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนประถมศึกษา ในความถูกต้อง ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นด้วยทุกประเด็น
References
กรมสามัญศึกษา. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 25. กรุงเทพฯ: กรม
สามัญศึกษา.
เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. (2549). คู่มือนักพัฒนา : วิธีทำงานกับเกษตรกร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร. (2547). หลักการจัดการและองค์การและการจัดการแนวคิดบริหารธุรกิจในสถานการณ์
ปัจจุบัน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนภรณ์ วารินรักษ์. (2554). การมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน
ของสถานศึกษาใน เขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนนทบุรีเขต 2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย,
ฉบับเสริม, 5, 2554, 162-163.
ธงชัย สันติวงศ์. (2545). การจัดการ. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส แอนด์ กราฟฟิค.
ไพรัตน์ เตชะรินทร์. (2549). กลวิธีและแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนาชุมชนในการมีส่วนร่วมในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
ธรรมรส โชติกุญชร. (2545). การบริหารแบบมีส่วนร่วม “ประมวลสาระชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการ
บริหารการศึกษา หน่วยที่ 12”. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธงชัย สมบูรณ์. (2554). การสอนแบบ “Super Service” ปาฏิหารแห่งการเรียนรู้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย
อีสเทิร์นเอเชีย. 5(2). 1-7.
พยอม วงศ์สารศรี. (2553). องค์กรและการจัดการ. กรุงเทพฯ: สุภา.
มัลลิกา ต้นสอน. (2545). การจัดการยุคใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอ็กซ์เปอร์เน็ต.
วัฒนา พัฒนพงศ์. (2546). BSC และ KPI เพื่อการเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2545). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2555). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย. กรุงเทพฯ:
ผู้แต่ง.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอํานาจการบริหาร. กรุงเทพฯ:
ผู้แต่ง.
อคิน ระพีพัฒน์. (2527). การมีส่วนร่วมของชุมชนในสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทยในการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2546). แนวคิดการบริหารงานเชิงระบบ. ค้นจาก
http://72.14.235.104/search?q=cache:Stl9gu9WmsYJ:www.shsk.ac.th/technology/
อุทุมพร จามรมาน. (2545). การพัฒนาหลักสูตรการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ฟันนี่.
Bovee, L. C. , & Others. (1993). Management. New York: McGraw-Hill. Bowen.
Robbins and Coulter. (2002). Organization Theory : Structure, Design and Applications (3rd ed.). New Jersey:
Prentice – Hall.
Thompson, A. and Strickland, J. A. (1999). Strategic management : concepts and cases. New York: Ivrin.
United Nations. (1981). Development of international economic and social affairs: Popular participation as a
strategy for promoting community level action and national development report of the meeting or the
adhoc group of experts held at UN. Midquarter from May 22-26, New York: United Nation.
Wheelen, T. L. and Hunger, J. D. (2000). Quality of work life and human diversity. New Jersey: Prentice – Hall.