การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Keywords:
ารวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงบุกเบิก, ความสามารถในการแก้ปัญหา,Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ และเพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้ การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของความสามารถในการแก้ปัญหา ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบ โดยนำรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาไปทดลองใช้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 80 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 40 คน และกลุ่มทดลอง จำนวน 40 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ คู่มือการจัดการเรียนรู้ และคู่มือนักเรียน และเครื่องมือประเมินผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดสามารถในการแก้ปัญหา แบบสังเกตพฤติกรรม วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ระยะที่ 1 ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงบุกเบิก ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (Repeated Measures One-Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบความสามารถในการแก้ปัญหาทั้ง 4 องค์ประกอบมีความเหมาะสมสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์และผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรียกว่า PAIWAT มี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) กำหนดปัญหา 2) วิเคราะห์กิจกรรม 3) จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ 4) ประชุมเชิงปฏิบัติการ 5) การวัดผลประเมินผล และ 6) การชื่นชมความสำเร็จ พบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีความสามารถในการแก้ปัญหาสูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรูวิทยาศาสตร์. เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กุลธิดา ค้อโนนแดง. (2547). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. ศึกษาศาสตร์ (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์. (2546). การคิดเชิงวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพ ฯ: ซัคเซสมีเดีย.
ดวงกมล วงษ์ศรีหัส. (2550). การบริหารจัดการแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียนภาครัฐ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.
ทิศนา แขมมณี. (2547). การคิดและการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวคิดวิธีและเทคนิคการสอน 1. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ฟแมนเนจเม้นท์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548). มาตรฐานการศึกษาของชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
อารี พันธ์มณี. (2540). ความคิดสร้างสรรค์กับการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อแกรมมี่.
Dewey,J. (1963). Eperience and Education. New York: Macmillan Publishing Company.
Gardner , H. (1998). Multiple Intelligence: Theory in Practice. New York : Basic Books.
Matlin, Magaret W. (1992). Psychology. New York Holt, Rinehart and Winston, Inc.
Simon, H. A. (1960). Administrative Behavior. (3rd ed). New York: The free Press.