รูปแบบการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในประเทศไทย

Authors

  • ขัตติยา ชัชวาลพาณิชย์

Keywords:

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, จิตวิทยา, ส่วนประสมการตลาด, ปัจจัยการตัดสินใจ

Abstract

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อค้นหารูปแบบการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยวชาวไทย  ประชากรที่ศึกษา คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เข้าท่องเที่ยวเป็นครั้งที่ 2 ขึ้นไปในอุทยานแห่งชาติ หรือนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เที่ยวอุทยานแห่งชาติเป็นวันสุดท้ายของกำหนดการ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศชาวไทย 2 กลุ่ม คือ นักท่องเที่ยวเชิงนิเวศทั่วไปและนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศผจญภัย กลุ่มละ 460 ตัวอย่าง ณ อุทยานแห่งชาติ โดยใช้สถิติการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling--SEM) ผลการวิจัยพบว่าพบว่า รูปแบบการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศทั่วไป องค์ประกอบสำคัญที่สุดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คือ ปัจจัยการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงนิเวศด้านการแสวงหาข้อมูล นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญด้านจิตวิทยาในเรื่องทัศนคติ และให้ความสำคัญด้านการสื่อสารทางการตลาดของปัจจัยส่วนประสมการตลาด โดยคำนึงถึงคุณค่าการรับรู้ของนักท่องเที่ยว ส่วนกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศผจญภัย พบว่าองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงนิเวศคือปัจจัยการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงนิเวศด้านการแสวงหาข้อมูล การสื่อสารทางการตลาดและการบริการ โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว

References

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพืชพันธ์. (2554). สถิติเงินรายได้อุทยานแห่งชาติ รายงานประจำปี 2544. ค้นจาก

http://www.dnp.go.th/nprd/develop/income.php.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). แผนยุทธ์ศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พ.ศ. 2555-2559. ค้นจาก

http://www.mots.go.th/more_news.php?cid=66&filename=index.

ณัฐชา ธำรงโชติ. (2552). รูปแบบพฤติกรรมการค้นหาข้อมูลของนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียที่มาเที่ยวเมืองพัทยา. วารสาร

สมาคมนักวิจัย, 14(2), 83-93.

อัครเดช จำเดิม. (2556). กลยุทธ์การตลาดของสถานศึกษาอาชีวะศึกษาเอกชนในประเทศไทย. วารสารวิชาการ

มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 3(2), 114-124.

Cejvanovic, F., Duric, A. & Vujic, T. (2009). The competitiveness of tourism and rural tourism offer in Bosnia and

Herzegovina through application of the marketing approach. European Association of Agricultural Economists in Its Series, 113(9), 113-115.

Chitty, B., Ward, S., & Chua, C. (2007). An application of the ECSImodel as predictor of satisfaction and loyalty of backpacker hotels. Marketing Intelligence & Planning, 25(6), 563-580.

Correia, A., & Pimpao, A. (2008). Decision-making processes of Portuguese tourist travelling to South America and Africa. New York: Harper Collins.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5 th ed.). New York: Harper Collins.

Hume, M., & Mort, G. S. (2010). The consequence of appraisal emotion, service quality, perceivedvalue and customer satisfaction on repurchase intent in the performing arts, Journal of Service Marketing, 24(2), 170- 182.

Kotler, P. & Keller, (2009). Marketing management. New Jersey: Prentice Hall.

Kotler, P., Hayes, T., & Bloom, P. N. (2002) Marketing professional service: Forward-thinking strategies for booting your business, your Image and your profits. America: Prentice Hall.

Kumar, P. (2010). Marketing of hospitality & tourism services . India: Tata McGraw-Hill

Education.

Li, X. & Petrick, J. (2008). Tourism marketing in an era of paradigm shift. Journal of travel 4esearch, 46(3), 235- 244.

Schiffman, L. G. & Kanuk, L.L. (2007). Consumer behavior. New Jersey: Pearson Prentice-Hall.

Downloads

Published

2015-04-30

Issue

Section

บทความวิจัย