การพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

Authors

  • นฤมล เพ็ชรสุวรรณ

Keywords:

การพัฒนาหลักสูตร, ความต้องการของสถานประกอบการ

Abstract

การวิจัยแบบผสมผสานนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง   สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจตามความต้องการของสถานประกอบการ  โดยใช้ Backward Design  กลุ่มตัวอย่าง  เป็นผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษา  จำนวน 216 คน  หัวหน้างานในสถานประกอบการจำนวน 1,080 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ขั้นตอนการดำเนินการคือ การศึกษาข้อมูลที่เป็นเอกสาร เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก นำมาสังเคราะห์เพื่อร่างหลักสูตร และประเมินความเป็นไปได้ของหลักสูตร  ผลการวิจัยสรุป  ได้ดังนี้ หลักสูตรที่พัฒนาขึ้น   ประกอบด้วย วิสัยทัศน์  หลักการ  จุดหมาย คุณลักษณะที่พึงประสงค์  โครงสร้างหลักสูตร  เนื้อหารายวิชา  กิจกรรมการเรียนการสอน  และการวัดและประเมินผล   โดยเน้น  คุณลักษณะที่พึงประสงค์  5  ด้าน คือ  ด้านคุณธรรม จริยธรรม  ด้านความรู้  ด้านทักษะทางปัญญา  ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข  การสื่อสาร โครงสร้างของหลักสูตรประกอบด้วย   หมวดวิชาพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า  22  หน่วยกิต    โดยเน้น กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ 8-12  หน่วยกิต   กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ 6-12  หน่วยกิต  กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 3-9  หน่วยกิต  กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 3-9 หน่วยกิต  หมวดวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า   52  หน่วยกิต  กลุ่มวิชาแกน ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต กลุ่มวิชาชีพบังคับ ไม่น้อยกว่า   28  หน่วยกิต กลุ่มวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า  9 หน่วยกิต  หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า  6  หน่วยกิต และกิจกรรมเสริมหลักสูตร  (ไม่น้อยกว่า 120 ชั่วโมง) รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 80-90  หน่วยกิต   ผลการประเมินความเป็นไปได้  หลักสูตรมีความสอดคล้องกับกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ      ความต้องการกำลังคนเชิงคุณภาพของสถานประกอบกา ร และมีความเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน 

References

ทิศนา แขมมณี. (2553). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา: กลยุทธ์การสอน. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2550). หลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไป: หลักการและวิธีดำเนินการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

มังกร หริรักษ์. (2550). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้สำเร็จอาชีวศึกษาประเภทช่าง อุตสาหกรรมตามความ ต้องการของสถานประกอบการ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารอาชีวะและ เทคนิคศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ.

รุจิร์ ภู่สาระ. (2551). การพัฒนาหลักสูตร: ตามแนวปฏิรูปการศึกษา (Curriculum development: Education reform). กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และ แนวทางปฏิบัติ. เอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตาม กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง

ศิริชัย กาญจนวาสี และคณะ. (2544). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: บุญศรีการพิมพ์.

Guskey, T. R. (2000). Evaluating professional development. Thousand Oaks: SAGE.

Wiggins, G. & Mc Tighe, J. (2006). Understanding by design. Alexandria: Association for Supervision and Curriculum Development.

Downloads

Published

2015-12-31

Issue

Section

บทความวิจัย