ยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้นำระดับสูงของกระทรวงกลาโหมตามแนวพระราชดำริเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน

Authors

  • พหล สง่าเนตร

Keywords:

ผู้นำระดับสูงของกระทรวงกลาโหม, ยุทธศาสตร์, คุณลักษณะ, ขีดความสามารถ, แนวพระราชดำริ

Abstract

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพคุณลักษณะ ขีดความสามารถ และแนวทางการพัฒนา ผู้นำระดับสูงของกระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน (2) ศึกษาคุณลักษณะและขีดความสามารถของผู้นำระดับสูงฯ ที่เหมาะสมสำหรับภารกิจในกรอบประชาคมอาเซียน (3) กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้นำระดับสูงของกระทรวงกลาโหมให้พร้อมรับภารกิจในกรอบประชาคมอาเซียนโดยอาศัยแนวพระราชดำริเป็นกรอบความคิด  ทำการวิจัยเชิงคุณภาพโดยรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกระทรวงกลาโหม เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ และใช้การวิจัยเชิงปริมาณกับนักศึกษาวิทยาลัยการทัพบกสำหรับปรับปรุงยุทธศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า ยุทธศาสตร์พัฒนาผู้นำระดับสูงคือยุทธศาสตร์ AAA ประกอบด้วย (1) ยุทธศาสตร์นำสร้างความตระหนักรู้  มี 2 กลยุทธ์ คือกลยุทธ์พัฒนาภายใน และ กลยุทธ์สร้างเครือข่ายภายนอก  (2) ยุทธศาสตร์หลักมุ่งสู่การพัฒนา มี 6 กลยุทธ์ คือกลยุทธ์รู้เท่าทันสถานการณ์  กลยุทธ์เชี่ยวชาญยุทธศาสตร์  กลยุทธ์พัฒนาความรอบรู้  กลยุทธ์พัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญ กลยุทธ์พัฒนาจินตนาการ และ กลยุทธ์พัฒนาคุณลักษณะ  และ (3) ยุทธศาสตร์ยั่งยืนสร้างค่าภูมิคุ้มกัน มี 4 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์พัฒนากระบวนคิด กลยุทธ์กำหนดทิศรับราชการ กลยุทธ์สร้างมาตรฐานผู้บริหาร และ กลยุทธ์ปรับมาตรการสนับสนุนตรวจสอบ รวมเรียกว่ากลยุทธ์ TOPCOMMANDER

References

กรมกำลังพลทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย. ( 2552). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังพล กองบัญชาการกองทัพไทย ปี 2553-2557. กรุงเทพฯ: กองบัญชาการกองทัพไทย.

กรมกำลังพลทหารบก. (2554). บันทึกข้อความ เรื่อง ขออนุมัติแผนพัฒนากำลังพล ทบ. ด้วยการศึกษา ปี 2555-2559. (30 พ.ย. 54). กรุงเทพฯ: กรมกำลังพลทหารบก.

กรมข่าวทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย. ( มิ.ย.2555). ประมาณการภัยคุกคาม (ห้วงเวลา ม.ค.56-ม.ค.66). กรุงเทพฯ: กองบัญชาการกองทัพไทย.

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. (2553). แผนงานการจัดตั้ง ประชาคมการเมืองและความ

มั่นคงอาเซียน. กรุงเทพฯ: เพจเมคเกอร์.

กระทรวงกลาโหม. ( 2555). นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงกลาโหม.

กระทรวงกลาโหม. (2555). แนวทางปฏิบัติของกระทรวงกลาโหม ในการรองรับการจัดตั้งประชาคม อาเซียน ในปี 2558. 16 สิงหาคม 2555. กรุงเทพฯ: กระทรวงกลาโหม.

กองอาเซียน สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักนโยบายและแผนกลาโหม. (2555). การดำเนินงานภายใต้ กรอบการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน. วารสารหลักเมือง, 21 (250), 20-24.

พจน์ พงษ์สุวรรณ, พลตรี. (2548). หลักยุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการทัพบก สถาบันวิชาการ ทหารบกชั้นสูง.

วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร. (2556). คู่มือ ด้านการพัฒนายุทธศาสตร์ชาติ ใช้เป็นแนวทางในการศึกษา หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร(วปอ.) หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วม เอกชน(ปรอ.) และ หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐ เอกชน และการเมือง(วปม.). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกัน ราชอาณาจักร.

ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย. (2554). ประชาคมอาเซียน 2558: อนาคตและการปรับกระบวนทัศน์ประเทศไทย (Thailand’s outlook & paradigm shift towards ASEAN community 2015). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สุรชาติ บำรุงสุข. (2555). ประชาคมอาเซียน : มิติด้านความมั่นคง: จุลสารความมั่นคงศึกษา. (ฉบับที่ 103), 12.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). พระมหากษัตริย์นักพัฒนา เพื่อประโยชน์สุขสู่ปวง ประชา. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. (2554). แผนการพัฒนาบุคลากร ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2554- 2557. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

Avolio, B., Walumbwa, F. & Weber, J. T. (2009). Leadership: Current theories, research, and future directions. Retrieved from digitalcommons.unl.edu/cgi/view content.cgi?article

Bapat, A., Bennett, M., Burns, G., Bush, C., Gobeski, K., Langford, S., --- Wagner, S. (2007). A leadership competency model: Describing the capacity to lead. Retrieved from www.chsbs.cmich.edu/leade

r_model/compmnodel/on line.

Bolden, R., Marturano, A. & Dennison, P.(2003). A review of leadership theory and competency frameworks. Centre for leadership studies. Exerter: University of Exeter.

Campbell, S., & Samiec, E. (2008). 5-D leadership. แปลโดย กมลวรรณ รามเดชะ และ สุนีย์รัตน์ ลิมปนวิวิธ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

Department of the Army. (2006). U.S.A., army leadership FM 6-22: Competent, confident, and agile. Washington. D. C.: Author.

United Nations Office of Human Resources Management. (2010). UN competency development a practical guide. (Version 1.0). New York: United Nations Office of Human Resources Management.

USA. Command and General Staff College. (2009). A leader development strategy for a 21st century army.

Retrieved from CGSC.edu/ALDS/army leader development strategy.

Yarger, H. R. (2010). The strategic appraisal: The key to effective strategy, U.S. Army War College guide to national security issues, (Vol. 1), 53-66.

Downloads

Published

2015-12-31

Issue

Section

บทความวิจัย