ตัวแบบการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรตามโครงการ

Authors

  • องอาจ เดชอิทธิรัตน์

Keywords:

ตัวแบบการบริหารจัดการ, การพัฒนาการเกษตร, โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

Abstract

บทความนี้รายงานการศึกษา ตัวแบบในการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเกษตร ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด 7 คน, กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า/กลุ่มผู้ปฏิบัติงานในโครงการ 10 คน นายอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา 1 คน และนักวิชาการ 2 คน ร่วมทำการสังเกตแบบมีส่วนร่วม มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับชาวบ้านในหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ได้ใช้หลักการ “เสาหลักแห่งความยั่งยืน” สามประการ ซึ่งเป็นไปตามแนวพระราชดำริ ประกอบด้วย อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตนเอง ดิน น้ำ ป่า คงอยู่ และนำแนวคิดบริหารจัดการ POSDCoRB มาใช้ในการสร้างตัวแบบการบริหารจัดการ การพัฒนาการเกษตรตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้นำเสนอ ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินงานของหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ (1) ปัจจัยหลัก ประกอบด้วย ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ และนโยบายของบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด, ความสามารถและการมองการณ์ไกลของผู้บริหารระดับสูงของบริษัท เครือเจริญโคภัณฑ์ จำกัด และสภาพแวดล้อมภายนอก ด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและทางด้านกฎหมาย (2) ปัจจัยพื้นฐาน ประกอบด้วย การใช้หลักยุทธศาสตร์ตามกรอบแนวคิด 7s ของ McKinsey ในการมีส่วนร่วมของสมาชิกหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า ในการตัดสินใจ การร่วมปฏิบัติงาน การร่วมรับผลประโยชน์ และการร่วมกันประเมินผล  ตัวแบบการบริหารจัดการประกอบด้วย การกำหนด ในการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การวางระบบ การสร้างวัฒนธรรมองค์การ การจัดสรรบุคคลากร การสั่งการ การประสานงาน การรายงาน และการจัดการด้านการเงิน และ การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคองค์การสาธารณกุศลและภาคประชาสังคม

References

นงพะงา บุญปักษ์. (2553). ตัวแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการเขต กรุงเทพมหานคร

อย่างยั่งยืน. การจัดการดุษฎีบัณฑิต ปริญญาเอก สาขาการจัดการภาครัฐ, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

นิสากร โลกสุทธิ. (2551). กลยุทธ์การใช้กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) เพื่อการสร้างภาพลักษณ์ของ

บริษัท สิงห์คอร์เปอเรชั่น จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการประชาสัมพันธ์,

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด. (2556). เส้นทางสู่ความยั่งยืน. กรุงเทพฯ: เจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด (มหาชน).

Silverman, D. (2005) Doing Qualitative. Research, (2nd ed.), Sage Publication.

Urwick, F. L. & Gulick, H. L. (1937). Paper on the science of administration. New York: Institute of Public Administration.

Downloads

Published

2015-12-31

Issue

Section

บทความวิจัย