การพัฒนากลยุทธ์ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

Authors

  • วุฒิภัทร จันทร์สาร

Keywords:

กลยุทธ์, การจัดการความรู้, องค์กรแห่งการเรียนรู้, โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ

Abstract

การวิจัยแบบผสานมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)  วัดระดับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนเสนาธิการ ทหารอากาศ และ (2)  พัฒนากลยุทธ์ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ ประชากรในการศึกษา เชิงสำรวจ คือ  นายทหารนักเรียนหลักสูตรเสนาธิการกิจ โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ ปีการศึกษา 2556  และที่สำเร็จการศึกษาไปแล้ว 5 ปี (2551 - 2555) จำนวน 628 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 245 คน การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บังคับบัญชาของกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ จำนวน 10 คน  และการสัมภาษณ์กลุ่มกับผู้ปฏิบัติงานของโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ จำนวน 15 คน  ผลการวิจัยพบว่า (1)  ระดับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 9 ด้าน ของโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศภาพรวมความเป็นจริงปัจจุบันมีค่า 3.86 อยู่ในระดับสูง  ภาพรวมความคาดหวังในอนาคตมีค่า 4.69 อยู่ในระดับสูงมาก  และ ( 2)  ประเด็นกลยุทธ์ในการพัฒนาความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ ประกอบด้วย 9 ประเด็น ได้แก่: กลยุทธ์ด้านการจัดการความรู้; กลยุทธ์ด้านการให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคล ว  กลยุทธ์ด้านภาวะผู้นำในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้:  กลยุทธ์ด้านพันธกิจและยุทธศาสตร์;  กลยุทธ์ด้านวัฒนธรรมองค์กร;  กลยุทธ์ด้านการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย; กลยุทธ์ด้านการปรับเปลี่ยนองค์กร;  กลยุทธ์ด้านการสร้างพลวัตการเรียนรู้ และกลยุทธ์ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

References

กรมยุทธการทหารอากาศ. (2552). ยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ พ.ศ.2551 - 2562, ปรับปรุงพ.ศ.2552. กรุงเทพฯ:

กองนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารอากาศ กองทัพอากาศ.

จันทรฉาย ยมสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา

ขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย สังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, 5(1).

น้ำทิพย์ วิภาวิน. (2547). การจัดการความรู้กับคลังความรู้. กรุงเทพฯ : เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.

บุญดี บุญญากิจ และคณะ. (2549). การจัดการความรู้จากทฤษฏีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : จิรวัฒน์เอ็กเพรส.

พสุ เดชะรินทร์. (2546). การวางแผนเชิงกลยุทธ์ องค์การ การประเมิน และ Balance Scorecard

(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวรรณ เหรียญเสาวภาคย์ และคณะ. (2548). Knowledge Management การจัดการความรู้. กรุงเทพฯ:

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2548). คู่มือการจัดทำ

แผนการจัดการความรู้ โครงการพัฒนาส่วนราชการ ให้เป็นองค์กรแห่ง การเรียนรู้ และการจัดการ

ความรู้ในส่วนราชการ. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

Certo, S. T. (2006). Modern management. New Jersey: Prentice hall.

Creswell, J., Plano-Clark, V. (2007). Designing and conducting mixed methods research,

Sage : Thousand Oaks,CA

Marquardt, M., & Reynolds, A. (1997). Building the learning organization: Best practices from around the word. Berita Personnel, 5, 1-8

Kaiser, S. M. (2000). Mapping the learning organization: Exploring A model of organizational learning. Dissertation for the degree of Doctor of Philosophy of the Louisiana State University.

Robbins, S. & Decenzo, D. (2004). Fundamentals of Management. New Jersey: Prentice hall.

Yamane, T. (1967). Elementary Sampling theory. New Jersey: Englewood Cliffs.

Downloads

Published

2015-12-31

Issue

Section

บทความวิจัย