การวิเคราะห์ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนวิถีพุทธเน้นจิตอาสา

Authors

  • เลิศศิลป์ รัตนมุสิก

Keywords:

ปัจจัยคัดสรร, ประสิทธิผล, โรงเรียนวิถีพุทธ, จิตอาสา

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ประสิทธิผล (2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผล และ (3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิผล ของโรงเรียนวิถีพุทธเน้นจิตอาสา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครูของโรงเรียนวิถีพุทธเน้นจิตอาสา จำนวน 590 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก และแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่  ร้อยละ  ค่ามัชฌิมเลขคณิตหรือค่าเฉลี่ย  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าความเบ้ และค่าความโด่ง   ของตัวแปรแฝงและตัวแปรสังเกตได้ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ โดยวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ผลการพัฒนาตัวบ่งชี้ประสิทธิผล ได้องค์ประกอบหลัก จำนวน 6 องค์ประกอบ และตัวบ่งชี้จำนวน 44 ตัวบ่งชี้ โมเดลปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผล มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจาก ค่าไค-สแควร์ (X2 )  = 112.77 องศาอิสระ (df) = 98 ความน่าจะเป็น (P) = 0.09 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) = 0.98 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) = 0.96 และดัชนีรากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) = 0.02 ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม อิทธิพลรวมมากที่สุด คือ สภาพแวดล้อมภายในองค์การ สำหรับแนวทางการพัฒนาประสิทธิผล เชิงนโยบาย มีจำนวน 6 ข้อ

 

References

กมลวรรณ รอดจ่าย. (2552). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพโรงเรียนขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

คมเพชร ฉัตรศุภกุล. (2547). การศึกษาและพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของเด็กและเยาวชนไทย (ระดับมัธยมศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

เจริญศรี พันปี. (2553). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้น พื้นฐานที่บริหารงานตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกระจายอ านาจการบริหาร และการจัดการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต ภาควิชานโยบายการจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ญาณิศา บุญจิตร์. (2552). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธวัช กรุดมณี. (2550). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลขององค์การของโรงเรียนที่บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บดินท์ ธรรมสังวาลย์. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพโรงเรียนวิถีพุทธ. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2555). โรงเรียนวิถีพุทธ. พระนครศรีอยุธยา: ผู้แต่ง.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: แอล ที เพรส.

สุทธิพงศ์ ยงกมล. (2543). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวาณิช และคณะ. (2550). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

Barnard, C. L. (1968). The functions of executive. Cambridge: Harvard University.

Hannan, M. & Freeman, J. (1977). The population ecology of organizations. American Journal of Sociology,

( 5), 929-964.

Katz, D., & Kahn, R. L. (1978). The social psychology of organization (2nd ed.). New York: John Wiley.

Kopelman, E. R. (1986). Managing productivity in organizations. N.P.: McGraw-Hill.

Steers, R. M. (1985). Managing effective organization: An introduction. Boston. Mc: Kent.

Steers, R. M. & Lyman, W. P. (1991). Motivation and work (6th ed.). New York: McGraw-Hill.

Downloads

Published

2015-12-31

Issue

Section

บทความวิจัย