การจัดการสารสนเทศ การสื่อสารและเทคโนโลยีสำหรับการเรียนรู้ในสถานศึกษา

Authors

  • อรวรรณ ป้อมดำ

Keywords:

การจัดการเทคโนโลยี, การเรียนรู้ในสถานศึกษา, เพชรบูรณ์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ: (1) ศึกษาระดับการปฏิบัติการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและเทคโนโลยีสำหรับการเรียนรู้ และเปรียบเทียบตามขนาดของสถานศึกษา; และ(2) ความต้องการในการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 136 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 272 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแปรปรวนทางเดียว วิเคราะห์ข้อมูล และวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์  ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับการปฏิบัติการจัดการสารสนเทศ การสื่อสารและเทคโนโลยีสำหรับการเรียนรู้ ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายยุทธศาสตร์พบว่ายุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการพัฒนาการบริหารจัดการด้านการศึกษาและการบริการ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ส่วนยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ และยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง; ( 2) ผู้บริหารสถานศึกษามีความต้องการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ให้เหมาะสม พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการบริหารให้เป็นโปรแกรมสำหรับจัดการข้อมูลพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ในการวางแผนและตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ  พัฒนาการจัดทำสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา

กระทรวง ศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กฤชมน อานทิพย์สุวรรณ. (2538). สภาพและปัญหาการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในงานบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บังอร ศรีสุทธิกุล. (2544). อิทธิพลของภาวะผู้นำและการรับรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหาร ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการบริหารงานโรงเรียนตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542: ศึกษาเฉพาะกรณี โรงเรียนมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กลุ่ม สหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น.

สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2541). การประกันคุณภาพการศึกษาวารสารวิชาการ. 1, 6 (มิถุนายน 2541): 27–39.

Best, J. W. (1981). Research in Education (4th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Cronbach, L. J. (1974). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper and Brother.

Osten, M. (2001). Technology leadership: the executive director’s role in the tech planning process. Retrieved January 14, 2010, from https://books.google.co.th/books?id=18CeBQAAQBA

Downloads

Published

2016-02-10

Issue

Section

บทความวิจัย