ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้มาตรการพิเศษในการคุ้มครองพยานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญาพ.ศ. 2546
Keywords:
ปัญหาทางกฎหมาย, การใช้มาตรการพิเศษ, การคุ้มครองพยานAbstract
เป็นที่ยอมรับอย่างชัดเจนว่าพยานบุคคลในคดีอาญา ถือเป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญของกระบวนการยุติธรรม เพราะการพิจารณาพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดหรืออาชญากรรมนั้น ศาลยุติธรรมก็ย่อมที่จะต้องพิจารณาจากคำเบิกความหรือถ้อยคำของพยานเป็นสำคัญ หรือพิจารณาจากน้ำหนักความเชื่อถือที่พยานได้ให้การเป็นสำคัญ แต่อย่างไรก็ตามพยานบุคคลในคดีอาญาจะเบิกความหรือให้ถ้อยคำใดๆไปในลักษณะที่เป็นประโยชน์และเป็นไปตามความจริงได้นั้น พยานก็ย่อมจะต้องได้รับการคุ้มครองจากหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ และต้องสร้างความมั่นใจให้กับพยานจากการศึกษาพบว่าการบังคับใช้มาตรการพิเศษในการคุ้มครองพยานบุคคลในคดีอาญาของประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 ยังหาได้ให้ความคุ้มครองพยานบุคคลในคดีอาญาด้วยวิธีการมาตรการพิเศษได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับประเทศไทยแต่อย่างใดไม่
References
กุลพล พลวัน. (2547). สิทธิมนุษยชนในสังคมโลก. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
ปกป้อง ศรีสนิท. (2553). ระบบกล่าวหาและระบบไต่สวนในวิธีพิจารณาความอาญา. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา.
วรรณพร สิทธิกรวงศ์. (2552). การคุ้มครองพยาน: ศึกษากรณีการนำมาตรการฉุกเฉินมาปรับใช้. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราเมศ พรหมเย็น. (2552). ปัญหาการปฏิบัติต่อพยานในคดีอาญา ศึกษากรณี: การปฎิบัติที่เหมาะสมต่อ พยานในชั้นพนักงานสืบสวนสอบสวน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.