รูปแบบการนำนโยบายส่งเสริมสุขภาพไปปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Authors

  • รัชยา รัตนะถาวร

Keywords:

นโยบายส่งเสริมสุขภาพ, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, การนำนโยบายไปปฏิบัติ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพปัจจุบันและปัญหาของการนำนโยบายส่งเสริมสุขภาพไปปฏิบัติ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) ปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จในการนำนโยบายส่งเสริมสุขภาพไปปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (3) การพัฒนารูปแบบการนำนโยบายส่งเสริมสุขภาพไปปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (4) ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการนำนโยบายส่งเสริมสุขภาพไปปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่โรงเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 1,910 โรงเรียน ได้กลุ่มตัวอย่าง 820 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือรองผู้อำนวยการ หัวหน้ากลุ่มงาน ครู ผู้ปกครอง นักเรียน และนักวิชาการสาธารณสุข เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก ร่างรูปแบบการนำนโยบายส่งเสริมสุขภาพไปปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ และได้รับการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบันและปัญหาของการนำนโยบายไปปฏิบัติ พบว่า การนำนโยบายไปปฏิบัติยังขาดกระบวนการที่เป็นแนวทางที่ชัดเจนในการดำเนินงาน บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในนโยบายน้อย ทรัพยากรสนับสนุนไม่เพียงพอ การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนน้อย การปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ และข้อมูลในการติดตามและประเมินผลไม่สมบูรณ์ (2) ปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จในการนำนโยบายส่งเสริมสุขภาพไปปฏิบัติ ได้แก่ ความชัดเจนของนโยบาย การจัดองค์กร  การประเมินผลและการสร้างความต่อเนื่อง ความร่วมมือของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ และ ความรู้ความเข้าใจของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ (3) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบเชิงกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติ ซึ่งประกอบไปด้วย องค์ประกอบหลัก 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นหลักการและแนวคิด โดยมี 5 หลักการ ส่วนที่สองคือ กระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน(4) รูปแบบการนำนโยบายส่งเสริมสุขภาพไปปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติทุกองค์ประกอบ

 

References

จันทร์ทิพย์ จุนทการ. (2546). การนำนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไปปฏิบัติ: กรณีศึกษา โรงพยาบาลปากเกร็ด นนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานโยบายและการวางแผนสังคม, มหาวิทยาลัย เกริก.

จาตุรนต์ จันระมาด. (2553). การนำนโยบายการบริหารอุทยานแห่งชาติไปปฏิบัติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎี

บัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บพิธ รัตนบุรี. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ของการนำนโยบายการให้บริการแบบศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ

[One Stop Service] ไปปฏิบัติ ศึกษากรณี สำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปวีณ์พร ทวีนุช. (2553). การนำนโยบายการกระจายอำนาจทางการคลังสู่ท้องถิ่นไปปฏิบัติ: ศึกษากรณีองค์การบริหาร

ส่วนตำบลในเขตอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย ราชภัฏเพชรบุรี.

พูนสุข หิงคานนท์. (2540). การพัฒนารูปแบบการจัดองค์การของวิทยาลัยพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์

ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย.

วรเดช จันทรศร. (2540). การนำนโยบายไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ

สำนักนายกรัฐมนตรี.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2538). นโยบายสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมบัติ ธำรงวงศ์. (2540). นโยบายสาธารณะ แนวคิด การวิเคราะห์ และกระบวนการ. กรุงเทพฯ: เอสแอนด์จีกราฟฟิค.

Green, L. W. & Kreuter, M. W. (1991). Health promoting planning: An educational and environmental approach. Toronto: Mayfield Publishing Company.

Van Meter, D. S. & Van Horn, C. E. (1975). The policy implementation process: A conceptual framework.

Administration and society, 6(4).

Van Horn, C. E. (1979). Policy Implementation in federal system : National goals and local implementors.

Toronto: D.C. Heath and Company.

Van Meter, D.S. & Van Horn, C. E. (1975). The policy implementation process: A conceptual framework.

Administration & Society, 6(February), 445-487.

William, W. & Others. (1971). Studying Implementation : Methodological and Administrative issues. New

Jersey: Chatham House Publishers.

Downloads

Published

2015-12-31

Issue

Section

บทความวิจัย