รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
Keywords:
สมรรถนะของผู้บริหาร, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, องค์การบริหารส่วนตำบล, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสมรรถนะของผู้บริหาร (2) สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหาร และ (3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ประชากรได้แก่ ผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จำนวน 2,237 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้จากการสุ่มตัวอย่างจำนวน 327 คน ตามตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของ Krejcie and Morgan การสุ่มตัวอย่างอาศัยหลักความน่าจะเป็น โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นอกจากนี้ยังมีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพที่ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมสนทนากลุ่ม โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า (1) สมรรถนะหลัก ภาพรวมความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนสมรรถนะทางการบริหาร ภาพรวมความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และสมรรถนะตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ ภาพรวม ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (2) การสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ประกอบด้วย องค์ประกอบ 4 ด้าน คือ ตัวป้อน กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ (3) การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยพิจารณาถึงความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านReferences
กรรณิกา เจิมเทียนชัย. (2544). การพัฒนารูปแบบการประเมินประสิทธิผลองค์การของวิทยาลัยพยาบาล สังกัด
กระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 (สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี).
กรุงเทพ ฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
ชัชรินทร์ ชวนวัน. (2552). รูปแบบการประเมินสมรรถนะข้าราชการ สำนักงานปลัดกระทรวง
ศึกษาธิการ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(2), 7-12.
พูลสุข หิงคานนท์. (2544). ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการบริหารระบบบริการพยาบาล ในคณะกรรมการผลิตและบริหาร
ชุดวิชา การพัฒนาศักยภาพระบบบริการพยาบาล หน่วยที่3,13. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย สุโขทัย
ธรรมาธิราช.
สมาน อัศวภูมิ. (2545). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่ (พิมพครั้งที่ 4). อุบลราชธานี: อุบลกิจออฟเซท.
เสรี ชัดแช้ม. (2538). แบบจำลอง. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2546). หลักการบริหารแบบใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุ ศาสตร์
อุทุมพร จามรมาน. (2541). การประกันคุณภาพระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bardo, J. W., & Hartman, J. J. (1982). Urban sociology: A systematic introduction. New York: F.E. Peacock.
Good, C. V. (1973). Dictionary of education. New York: McGraw-Hill.
Keeves, J. P. (1998). Methods and processes in research in science education. New York: John Wiley and Sons
McClelland, D. C. and Spencer, S. M. (1994). Competency assessment methods: History and state of Art, 3–44. London: Hay/McBer Research. Morrison. (1998). Personnel management. Dissertation abstracts international, (64), 557-751.
Parry, K. W. (1998). Grounded theory and social process: A new direction for leadership
research. Leadership Quarterly, 9(1), Spring, 85-105.
Tosi, H. L. & Carroll, S. J. (1982). Management. New York: John Wiley and Sons.
Willer, R. H. (1967). Leader and leadership Process. Boston: Irwin / McGraw-Hill