ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทเชิงตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษากับการส่งเสริมการทำวิจัย

Authors

  • พัชราพร ราชโรจน์

Keywords:

การตัดสินใจ, การวิจัยในชั้นเรียน, การวิจัย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับบทบาทเชิงตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา  (2) ศึกษาระดับการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทเชิงตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษากับการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในโรงเรียนเทศบาล  สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี  กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือแบบหน่วยวิเคราะห์ จำนวนโรงเรียน  11  โรงเรียน ประกอบด้วยครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนเทศบาลสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานีภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2556 จำนวน 306  คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1)  บทบาทเชิงตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษาภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.33,  = 0.42)  (2) การส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.33,   = 0.41)  และ  (3) ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทเชิงตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษากับการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในโรงเรียนเทศบาลสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในระดับปานกลาง

 

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). การวิจัยเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

ชมชล นาพิมพ์. (2553). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

สังกัดสำนักงานเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารการศึกษา

สาขาวิชาศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ทรงสิทธิ์ เหลืองธิชัยวานิช. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินการประกัน คุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.

บัณฑิต จันทบาล. (2550). การส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอลำลูกกา สังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.

พิษณุ คนซื่อ. (2550). บทบาทการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนวัดแสงสรรค์

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 .ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎ

พระนคร.

ไพเราะ พัตตาสิงห์. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับการส่งเสริมการวิจัยใน

ชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง.วิทยานิพนธ์

ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

ภารดี อนันต์นาวี. (2555). หลักการ แนวคิด ทฤฎีทางการบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4) ชลบุรี: มนตรี.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8)

กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.

วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์.(2549). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวปฏิรูป. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 1 (1), 75-82.

ศิรินันท์ สิงทิศ. (2550). บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนสังกัดสำนักงานเขต

พื้นที่การศึกษาหนองคาย.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา. (2556). กระบวนการและผลของการศึกษาบทเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ของครู: การวิเคราะห์ เครือข่ายทางสังคม • ไผ่ วสยางกูร.

อัมพร ยอดสะเทิน. (2550). บทบาทในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2 . วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

Schermerhorn,J. R. (2008). Mamagement (9th ed.). NJ: Jonh Wiley & Sons.

Downloads

Published

2015-12-31

Issue

Section

บทความวิจัย